NSO

uranus rแบบจำลองดาวยูเรนัสขณะหมุนรอบตัวเอง
Credit: Almond/ NASA
ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์เช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี พื้นผิวของดาวจึงไม่มีส่วนที่เป็นของแข็ง

ดาวเคราะห์ดวงนี้ยังมีสีออกฟ้า เนื่องจากแก๊สมีเทนในชั้นยอดเมฆของชั้นบรรยากาศที่หนาวเย็น (อุณหภูมิประมาณ -200 องศาเซลเซียส) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 เฉียดผ่านใกล้ดาวยูเรนัส ในปี ค.ศ.1986 พบว่าดาวยูเรนัสแทบจะไม่มีรายละเอียดอะไรปรากฏบนพื้นผิวดาวเลย (ดูภาพซ้ายประกอบ) แต่ถ้าเราสังเกตดาวยูเรนัสในช่วงรังสีอื่นๆ เช่น รังสีอินฟราเรด (อย่างภาพเคลื่อนไหวด้านขวา) จึงจะเห็นบางแถบเมฆและจุดที่มีอุณหภูมิอุ่นกว่าได้บ้าง

ดาวยูเรนัสมีวงแหวนของตนเองเช่นเดียวกับดาวเสาร์ แต่วงแหวนของดาวยูเรนัสจะบางกว่ามากและสังเกตได้ยากกว่ามาก

Uranusภาพถ่ายดาวยูเรนัสจากยานวอยเอเจอร์ 2
Credit: NASA
ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ถูกค้นพบในยุคสมัยใหม่ โดยวิลเลียม เฮอร์เชล นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ.1781 แต่มียานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานเพียงลำเดียวที่ไปถึงดาวเคราะห์ดวงนี้

ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์อย่างน้อย 27 ดวง โดยดวงจันทร์ในกลุ่มนี้ 22 ดวง มีขนาดเล็กมาก และมีวงโคจรใกล้กับดาวยูเรนัส ขณะที่ดวงจันทร์อีก 5 ดวง (มิแรนดา แอเรียล อัมเบรียล ทิทาเนีย และโอเบรอน) มีขนาดใหญ่กว่าและอยู่ห่างจากดาวยูเรนัสมากกว่า