NSO

แบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์นี้มีตัวควบคุมต่างๆคอยปรับการแสดงผลของแบบจำลอง คุณสามารถเปลี่ยนวันที่ มองระบบสุริยะในบริเวณที่แตกต่างกันและปรับให้แสดงภาพเคลื่อนไหว (ไม่ว่าจะให้เวลาเดินหน้าหรือถอยหลัง) ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยกดปุ่มต่างๆที่แผงควบคุมแบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์

 

การเปลี่ยนวันที่

คุณสามารถปรับวันที่ไปยังอนาคตหรืออดีตได้ โดยห่างจากวันที่เดิม 1 วัน, 1 เดือน หรือ 1 ปี นอกจากนี้ คุณยังสามารถให้แบบจำลองแสดงภาพเคลื่อนที่แบบให้เวลาเดินหน้าหรือถอยหลัง โดยคลิกที่ปุ่มที่มีรูปลูกศร ที่แถวล่างของแผงควบคุม หากลูกศรมีจำนวนมากขึ้นหมายถึงปรับให้เวลาเดินหน้าหรือถอยหลังเร็วขึ้น ส่วนวันที่จะถูกแสดงไว้ตรงมุมขวาบนของแบบจำลอง

 

orrery plutoแบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์ขณะแสดงดาวเคราะห์ทุก ดวงและดาวเคราะห์แคระพลูโต จะเห็นได้ว่าดาวเคราะห์ชั้นในจะกระจุกตัวกันบริเวณกลางภาพดาวเคราะห์ดวงต่างๆ

ระบบสุริยะนั้นเป็นสถานที่ที่กว้างใหญ่มาก อย่างดาวพลูโตก็อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าดาวพุธถึง 100 เท่า แต่ว่าแบบจำลองวงโคจรของดาวเคราะห์นี้จะแสดงวงโคจรตามมาตราส่วนจริง ดังนั้น หากให้แบบจำลองแสดงดาวพลูโต ดาวเคราะห์ชั้นในจะกระจุกตัวกันอยู่บริเวณกลางภาพ จึงมีตัวเลือกว่าต้องการให้แบบจำลองแสดงมุมมองของระบบสุริยะแบบไหน

 

- ดาวเคราะห์ชั้นใน : แสดงดาวเคราะห์หินทั้ง 4 ดวง พร้อมตัวเลือกว่าต้องการให้แสดงชื่อของดาวเคราะห์หรือไม่

- ระบบสุริยะส่วนที่มองเห็นได้จากโลก : อ้างอิงตามดาวเคราะห์ที่มนุษย์สามารถสังเกตเห็นได้บนท้องฟ้ายามค่ำคืนด้วยตาเปล่าจากพื้นโลก โดยจะแสดงดาวเคราะห์ถึงดาวเสาร์

- ระบบสุริยะชั้นนอก : เน้นไปที่ดาวเคราะห์ชั้นนอก 4 ดวง พร้อมตัวเลือกว่าจะให้แสดงดาวเคราะห์แคระพลูโตด้วยหรือไม่

 

ภาพเคลื่อนไหว

เมื่อคลิกที่ปุ่มรูปลูกศรในแถวบนของแผงควบคุม แบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์จะเริ่มแสดงภาพเคลื่อนไหว รวมถึงวันที่ที่เปลี่ยนแปลงไปทางด้านขวาบนของแบบจำลอง คุณสามารถปรับให้เวลาในแบบจำลองเดินหน้าหรือถอยหลังก็ได้ และกดปุ่มหยุดเพื่อหยุดภาพเคลื่อนไหวในแบบจำลอง ปุ่มปรับความเร็วของเวลาในแบบจำลองให้เดินหน้าหรือถอยหลังมี 3 ปุ่ม ได้แก่

 

> - เวลาค่อยๆเปลี่ยนไปทีละวัน

>> - เวลาค่อยๆเปลี่ยนไปทีละเดือน

>>> - เวลาค่อยๆเปลี่ยนไปทีละปี

 

 

orrery keyตัวเฉลยดาวในแบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์ตัวเฉลยดาว

 ตัวเฉลยนี้จะบอกคุณว่ามีดาวเคราะห์ดวงไหนบ้างที่ถูกแสดงอยู่บนหน้าจอ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวเคราะห์แต่ละดวงและดาวเคราะห์แคระพลูโต จากเนื้อหาเรื่องระบบสุริยะในเมนู “คลังความรู้” และขอเน้นว่าถึงแม้ขนาดวงโคจรดาวเคราะห์ที่แสดงในแบบจำลองจะเป็นไปตามมาตราส่วนจริง แต่ขนาดของตัวดาวไม่ได้ตามมาตราส่วน