NSO

ระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ที่ปรากฏในแผนภาพด้านบนนี้ มีขนาดเป็นไปตามมาตราส่วนจริงยกเว้นระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์กับดวงอาทิตย์
Credit:Wikimedia

ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์ของพวกมัน และวัตถุขนาดเล็กอีกจำนวนมาก เช่น ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอยู่ห่างไกลจากกันมาก เราจึงใช้หน่วยวัดระยะทางที่เรียกว่า “หน่วยดาราศาสตร์” (Astronomical Unit: AU) ซึ่งอ้างอิงจากระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์

ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 4 ดวง จะเรียกว่า “ดาวเคราะห์ชั้นใน” (Inner planets) หรือ “ดาวเคราะห์หิน” (Terrestrial planets) ซึ่งมักมีขนาดเล็ก มีอุณหภูมิที่อบอุ่น มีหินเป็นองค์ประกอบหลัก มีดวงจันทร์เพียงไม่กี่ดวงหรือไม่มีดวงจันทร์เลย และไม่มีระบบวงแหวนอยู่โดยรอบ ดาวเคราะห์เหล่านี้ประกอบด้วยดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ดาวเคราะห์ 3 ดวงหลังในกลุ่มนี้มีชั้นบรรยากาศและรูปแบบสภาพอากาศแบบต่างๆ

 

 

“แถบดาวเคราะห์น้อย” (Asteroid belt) ประกอบด้วยดาวเคราะห์น้อยหลายดวง แถบนี้จะแบ่ง “ดาวเคราะห์ชั้นใน” กับ “ดาวเคราะห์ชั้นนอก” ซึ่งดาวเคราะห์ชั้นนอกจะมีขนาดใหญ่กว่า เย็นกว่า มีองค์ประกอบหลักเป็นแก๊ส มีดวงจันทร์และระบบวงแหวนจำนวนมาก แต่มีเพียงวงแหวนของดาวเสาร์เท่านั้น ที่เราสามารถมองเห็นได้จากโลก เราเรียกดาวเคราะห์กลุ่มนี้ในอีกชื่อได้ว่า “ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์” (Gas giants)

ดาวเคราะห์เหล่านี้มีองค์ประกอบหลักเป็นแก๊สและน้ำแข็ง และมีมวลรวมกันมากถึง 99% ของมวลวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งหมดดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ประกอบด้วยดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

พ้นจากกลุ่มของดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ออกไปเป็นบริเวณที่มีวัตถุน้ำแข็ง อย่างดาวเคราะห์แคระและดาวหางอีกหลายดวง


ดวงอาทิตย์

Credit: NASA

ดาวเคราะห์

Credit: Scooter20

ดวงจันทร์

Credit: NASA

ดาวเคราะห์แคระ

Credit: NASA

ดาวหาง

Credit: NASA

วัตถุใกล้โลก

Credit: Paola-Castillo

การก่อตัวของระบบสุริยะ

Credit: NASA

แบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์

Credit: Christoph Braun