NSO

whtinstภาพอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่เชื่อมต่อกับกล้องโทรทรรศน์
Credit: ING/WHT
การเก็บข้อมูลของนักดาราศาสตร์ในอดีตจะศึกษาด้วยการมองวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์และบันทึกด้วยการเขียนหรือวาดภาพสิ่งที่สังเกตเห็นจนมีการประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปที่ช่วยบันทึกภาพต่างๆผ่านกล้องโทรทรรศน์และไม่เพียงแค่วัตถุที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้นการถ่ายภาพด้วยรูรับแสงที่นานขึ้นทำให้สามารถบันทึกและศึกษาวัตถุที่มีความสว่างน้อยมากๆได้อีกด้วย

 

ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับกล้องโทรทรรศน์จะมีรูปแบบหรือหลักการทำงานแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับจุดประสงค์หรือวัตถุที่ทำการศึกษาเช่น

 

  • กล้องถ่ายภาพซีซีดี (CCD cameras)
  • สเปกโทรกราฟ (Spectrograph)

harpsภาพสเปกโทรกราฟ Harps
Credit: ESO
สเปกโตรกราฟเป็นอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีความซับซ้อนโดยทำหน้าที่แยกความยาวคลื่นของแสงไปยังทิศทางที่แตกต่างกันหรือที่เรียกว่า“สเปกตรัม”

 

การศึกษาแถบสเปกตรัมของวัตถุเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักดาราศาสตร์ในการอธิบายฟิสิกส์ของวัตถุเช่นการวัดค่าอุณหภูมิของดาวฤกษ์หรือการบอกความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีจากแถบในแต่ละช่วงความยาวคลื่น

 

สเปกโตรกราฟเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนสูงสร้างขึ้นจากชิ้นส่วนที่สำคัญหลายชิ้นเช่นกระจกปริซึมหลอดตระเกียงภายในและอุปกรณ์ตรวจวัดCCD ซึ่งข้อมูลที่ได้จะออกมาเป็นข้อมูลภาพและถูกสังเคราะห์โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไป

ltfiltแผ่นกรองแสงที่ใช้งานกับกล้องลิเวอร์พูล
Credit: LT
อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ส่วนใหญ่จะทำการบันทึกความสว่างและความเข้มแสงของวัตถุท้องฟ้าแต่การจำแนกสีของวัตถุจะทำให้นักดาราศาสตร์ทราบรายละเอียดต่างๆมากยิ่งขึ้นเช่นดาวฤกษ์สีฟ้าที่มีอุณหภูมิสูงมักมีขนาดและความสว่างที่มากกว่าดาวฤกษ์สีแดงเป็นต้น

 

ดังนั้นในการจำแนกสีของวัตถุนักดาราศาสตร์จะใช้แผ่นแก้วกรองแสงที่จะยอมให้แสงทะลุผ่านในช่วงความยาวคลื่นเฉพาะค่าหนึ่งซึ่งช่วงในการทำนายสีของวัตถุจากความแตกต่างของภาพถ่ายจากแผ่นกรองแสงต่างชนิดกันเช่นแสงจากดาวสีน้ำเงินจะทะลุผ่านแผ่นกรองแสงสีฟ้ามากกว่าแผ่นสีแดง

 

ในกล้องโทรทรรศน์สำหรับงานวิจัยจะติดตั้งแผ่นกรองแสงที่ยอมให้แสงทะลุผ่านที่ช่วงความยาวคลื่นที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษทำให้ข้อมูลที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ต่างชนิดกันสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบและศึกษาเพื่อใช้ในงานวิจัยร่วมกันได้

 

ตัวอย่างแผ่นกรองแสง

  • R : แผ่นกรองแสงในช่วงความยาวคลื่นแสงสีแดงถูกใช้บ่อยเพื่อใช้ศึกษาดาวที่มีอุณหภูมิต่ำ
  • V : แผ่นกรองแสงในช่วงความยาวคลื่นที่ตามองเห็นได้จะยอมให้แสงในปริมาณที่เหมือนกับที่ตามองเห็น
  • B : แผ่นกรองแสงในช่วงความยาวคลื่นแสงทีฟ้า ถูกใช้เพื่อศึกษาวัตถุที่มาอุณหภูมิสูง

 

Ha หรือไฮโดรเจนแอลฟา: แผ่นกรองแสงที่ยอมให้ค่าความยาวคลื่นค่าหนึ่งในช่วงแสงสีแดงทะลุผ่านแหล่งกำเนิดแสงในช่วงคลื่นนี้มักเกิดจากธาตุไฮโดนเจนที่มีความอุณหภูมิสูงซึ่งมีความสำคัญมากต่อการศึกษาทางดาราศาสตร์เนื่องจากปริมาณธาตุส่วนใหญ่ในเอกภพประกอบคือธาตุไฮโดรเจนทำให้เป็นผลดีต่อการศึกษาและค้นหากลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ในอวกาศ

CCD Image sensorลักษณะแผ่นซีซีดี
Credit: Wikimedia user Sphl
กล้องถ่ายภาพซีซีดีคือกล้องถ่ายภาพความไวแสงสูงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์CCD : Charge-Couple Device ซึ่งลักษณะเป็นแผ่นเซนเซอร์ทำหน้าที่จับโฟตอนของแสงที่กระทบพื้นผิวในละพิกเซลและแปลงสัญญาณแสงที่บันทึกได้ออกมาเป็นสัญญาณภาพ

 

นอกจากนี้กล้องถ่ายภาพซีซีดียังสามารถแปลงสัญญาณแสงที่ได้รับออกเป็นสัญญาณภาพดิจิตอล(digital image) ซึ่งง่ายและสะดวกต่อนักดาราศาสตร์ในการส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยอินเตอร์เนตไร้สายและทำการแปลงข้อมูลที่ได้รับมาเป็นสัญญาณภาพด้วยซอฟแวร์ทางดาราศาสตร์

 

ถึงแม้แผ่นอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กภายในกล้องถ่ายภาพซีซีดีจะเป็นอุปกรณ์เดียวกันกับที่ใช้ในกล้องถ่ายวีดีโอและกล้องถ่ายภาพดิจิดอลขนาดเล็กแต่การใช้งานทางดาราศาสตร์ภายในกล้องถ่ายภาพซีซีดีจะถูกลดอุณหภูมิลงให้ต่ำมากๆโดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ-100องศาเพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

เนื่องจากซีซีดีทำหน้าดักจับสัญญาณแสงที่ตกกระทบเข้ามาทำให้ภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพซีซีดีจะเป็นลักษณะของภาพขาว-ดำและนำไปใช้ศึกษาความสว่างของวัตถุแต่สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ของสีและอุณหภูมินักดาราศาสตร์จะนำแผ่นกรองแสงมาช่วยในการถ่ายภาพซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป