NSO

inst specแสงสีต่างๆ
Credit: NSO

ถึงแม้ว่าเราอาจจะมองเห็นแสงเป็นสีขาว แต่ความจริงแสงขาวนั้นเกิดจากการผสมกันของแสงหลายสีเข้าด้วยกัน แสงแต่ละสีที่รวมเข้าด้วยกันเป็นแสงขาวเรียกว่าสเปกตรัมของแสง เมื่อต้องการเรียกแถบสเปกตรัมเฉพาะบางส่วนเราจะเรียกว่าแถบสีน้ำเงิน แถบสีแดง หรือแถบสีอื่น ๆ

 

800px Prism flat rainbowแสงขาวที่ถูกปริซึมแยกออกเป็นสีต่าง ๆ
Credit: Wikimedia user Kelvin 13
เมื่อแสงขาวเดินทางผ่านปริซึมเช่นในรูปที่ 2 แสงแต่ละสีจะถูกหักเหออกจากกันจนปรากฏให้เห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ เนื่องแสงแต่ละสีถูกหักเหได้ไม่เท่ากันเมื่อแสงเดินทางผ่านออกมาจากปริซึมจึงมีทิศทางแตกต่างกันเล็กน้อย นักดาราศาตร์ศึกษาแถบสีต่าง ๆ ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์หรือกาแล็กซีโดยเครื่องมือที่มีชื่อว่าสเปกโทรกราฟซึ่งหน้าที่แยกแสงออกสีเป็นสีต่าง ๆ และทำการบันทึกข้อมูลนั้น

 

แสงของดาวฤกษ์บางส่วนถูกดูดกลืนได้โดยอะตอมหรือโมเลกุลที่แสงนั้นเดินทางผ่าน เมื่อแสงบางส่วนของดาวฤกษ์ถูกดูดกลืนจะปรากฏให้เห็นเส้นแคบ ๆ ในสเปกตรัม ดวงอาทิตย์ของเราจะปรากฏให้เห็นเส้นแคบ ๆ ในสเปกตรัมซึ่งเกิดจากการดูดกลืนแสงของอะตอมในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์

วัตถุที่มีอุณหภูมิสูงเช่นดาวฤกษ์จะปลดปล่อยแสงสว่างออกมาหลากหลายสีซึ่งเรียกว่าสเปกตรัมอย่างไรก็ตามอะตอมสามารถปลดปล่อยหรือดูดกลืนแสงที่ช่วงความยาวคลื่นจำเพาะ เมื่อแก๊สมีอุณหภูมิสูงกว่าแหล่งกำเนิดอื่นที่เปล่งแสงเข้ามา อะตอมในแก๊สจะปลดปล่อยแสงออกมา แต่ถ้าแก๊สมีอุณหภูมิต่ำกว่าอะตอมในแก๊สจะดูดกลืนแสง

อะตอมชนิดหนึ่ง ๆ สามารถดูดกลืนแสงได้หลายสี แต่อะตอมต่างชนิดกันจะดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นต่างกัน ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถระบุได้ว่าบนดาวฤกษ์มีอะตอนชนิดใดบ้างจากแถบสีที่ถูกดูดกลืนไป

 

 

spsim 1

แสงจากดาวฤกษ์

แสงจากดาวฤกษ์จะมีแถบสเปกตรัมที่ต่อเนื่องกัน