มนุษย์เริ่มออกเดินทางสำรวจอวกาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ในการสำรวจอวกาศจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีหลายอย่าง เช่น จรวด หุ่นยนต์สำรวจ และสถานีอวกาศ ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านั้นจำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและความร่วมมือระหว่างประเทศ ในบางครั้งเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าอย่างมากแต่มนุษย์ยังเดินทางไปได้ไกลสุดเพียงแค่ดวงจันทร์ในภารกิจอะพอลโลซึ่งดำเนินการในปี ค.ศ. 1960 และ ค.ศ.1970 อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 มนุษย์สามารถสร้างสถานีอวกาศที่โคจรรอบโลก โดยมนุษย์สามารถขึ้นไปอยู่บนสถานีอวกาศได้นานหลายเดือน
ในปัจจุบันบริษัท SpaceXกำลังพัฒนาจรวดรูปแบบใหม่ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งทำให้ค่าโดยสารในการออกสู่อวกาศถูกลง โดยบริษัท SpaceX หวังว่าจะสามารถพามนุษย์ขึ้นไปยังดาวอังคารได้ นอกจากนี้หลายประเทศยังคงส่งมนุษย์ไปยังอวกาศและวางแผนที่จะพามนุษย์ไปยังดวงจันทร์หรือดาวอังคารในอนาคต
นอกจากการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศแล้วยังมีการวางแผนส่งหุ่นยนต์และยานสำรวจอวกาศออกไปสำรวจทั่วทั้งระบบสุริยะเช่นการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวศุกร์การสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกและดวงจันทร์บริวาร รวมไปถึงการสำรวจนอกระบบสุริยะโดยยานวอยเอเจอร์(Voyager) ซึ่งเป็นยานสำรวจอวกาศที่เดินทางไปได้ไกลที่สุด
ไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้ หากคุณเห็นหมวดย่อย เนื้อหาอาจอยู่ในนั้น