NSO

zeroG 0สภาพไร้น้ำหนักบนยานอวกาศของNAS.
Credit: Steve Jurvetson
แรงโน้มถ่วงทำให้สิ่งต่างที่มีมวลเคลื่อนที่เข้าหากัน โดยมวลที่มากจะทำให้มีแรงดึงดูดมาก ถ้าหากเราปล่อยลูกบอลลงบนพื้นดวงจันทร์ลูกบอลก็จะตกลงบนพื้นดวงจันทร์ช้ากว่าบนโลกเพราะดวงจันทร์มีมวลน้อยกว่าโลก ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์จะน้อยกว่าโลก แต่แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ก็มากพอที่จะดึงดูดน้ำบนโลกจนทำให้น้ำขึ้นน้ำลง

 

แรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเราทุกคนให้อยู่บนพื้นโลกและทำให้โลกโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ วัตถุที่มีมวลมากจะมีแรงดึงดูดมากนอกจากนี้แรงดึงดูดจะยิ่งมากขึ้นถ้าอยู่ใกล้จึงทำให้เราเห็นว่าดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์โคจรด้วยอัตราเร็วที่มากกว่าดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลออกไป และยังเป็นเหตุผลอีกว่าทำไมดวงจันทร์จึงโคจรรอบโลกแทนที่จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ เราสามารถคำนวณแรงโน้มถ่วงได้จากสมการ

 

F=G (m1m2) / r2

 

โดย   F = แรงโน้มถ่วง

G = ค่านิจโน้มถ่วงสากล

r = ระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสอง

m1 , m2 = มวลของวัตถุ

คลิกที่แอนิเมชันเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง

 

gsimGravitational Force
Credit: NSO
คุณสารถเรียนรู้เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงบนดาวแต่ละดวงในระบบสุริยะตามลิงค์ด้านล่าง

แอนิเมชันจำลองแรงโน้มถ่วง – ใช้เมาส์เพื่อลากลูกบอลไปยังตำแหน่งต่าง ๆ (ตามรูปด้านซ้าย)

กิจกรรมแรงโน้มถ่วง – กิจกรรมสำหรับชั้นเรียนที่นักเรียนจะได้เรียนรู้แรงโน้มถ่วงจากแอนิเมชันจำลองแรงโน้มถ่วง