NSO

1280px Hubble 01กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
Credit: NASA
ชั้นบรรยากาศของโลกทำให้เกิดปัญหาต่อการศึกษาแสง ในบางช่วงความยาวคลื่นนักดาราศาสตร์จึงแก้ไขปัญหานี้โดยการ สร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นไปกับดาวเทียมเพื่อโคจรนอกชั้นบรรยากาศ ของโลก

 

กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่เป็นที่รู้จัก เช่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถูกส่งไปเก็บข้อมูลนอกชั้นบรรยากาศของโลกเพื่อให้ได้ ภาพที่มีคุณภาพสูงและหลีกเลี่ยงผลกระทบจากชั้นบรรยากาศซึ่งทำให้ ภาพไม่คมชัดนอกจากนี้ยังมีกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบมาเพื่อสังเกต แสง

 

ในช่วงความยาวคลื่นต่าง ๆ เช่น ช่วงความยาวคลื่นเอกซเรย์ และ คลื่นอินฟราเรด ภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศทำให้นักดาราศาสตร์ศึกษาวัตถุในเอกภพได้มากขึ้น รวมถึงการศึกษาวัตถุพลังงานสูงอย่าง ควอซาร์ (Quasars)

 

ดาวเทียมบางดวงถูกออกแบบมาเพื่อใช้ศึกษาสิ่งต่าง ๆ บนโลกเช่น ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอุณหภูมิ ป่าไม้ และการเคลื่อนที่ของน้ำแข็ง โดยปกติดาวเทียมประเภทนี้จะอยู่บนท้องฟ้าที่ตำแหน่งเดิม (Geostationary Orbits) สูงจากเส้นศูนย์สูตรโลกประมาณ 35,786 กิโลเมตร และใช้เวลาโคจร 24 ชั่วโมง

hst001กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
Credit: NASA/HST
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นกล้องโทรทรรศน์ตัวแรกที่ถูกส่งขึ้นยังอวกาศเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากชั้นบรรยากาศของโลก โดยโคจรรอบโลกที่ความสูง 600 กิโลเมตร จากพื้นโลก ตัวกล้องโทรทรรศน์ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกในปี ค.ศ. 1990 โดยยานอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA)

 

ข้อมูลทั่วไปของกล้องโทรทรรศน์

 

  • ความสูงจากพื้นโลก : 600 กิโลเมตร
  • มวลของกล้อง : 11,600 กิโลกรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลางกระจกหลัก : 2.4 เมตร
  • เริ่มใช้งาน : 24 เมษายน ค.ศ. 1990

 

hst002เศษซากของดาวฤกษ์ที่ระเบิดออก
Credit:NASA/HST
แสงจากวัตถุต่าง ๆ ไม่ถูกรบกวนโดยชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้ภาพถ่ายมีความคมชัดและสามารถเก็บรายละเอียดได้มากกว่ากล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้เก็บภาพถ่ายคุณภาพสูงไว้มากมายเช่นภาพถ่ายเนบิวลาที่มีอายุ 1,000 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นผิวชั้นนอกของดาวฤกษ์กำลังระเบิดออกทำให้เกิดการปลดปล่อยมวลและพลังงานออกมาจำนวนมาก