NSO

eclipseสุริยุปราคาเต็มดวงจากประเทศฝรั่งเศส ค.ศ.1999
Credit: Luc Viatour
อุปราคาของดวงอาทิตย์ หรือ “สุริยุปราคา” จะปรากฏเมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ดังนั้น โลกจะวางตัวอยู่ตรงแนวเงาของดวงจันทร์

 

เนื่องจากดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าโลกมาก เงาของดวงจันทร์จึงทอดลงไปครอบคลุมพื้นที่เล็กๆบน พื้นผิวโลก สุริยุปราคาจึงเห็นได้จากพื้นที่เฉพาะบางแห่งบนโลก อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่ว่าการที่สามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดดวง) เป็นความบังเอิญในธรรมชาติที่ถึงแม้ดวงจันทร์จะมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ 400 เท่า แต่ก็ใกล้กว่าดวงอาทิตย์ 400 เท่าด้วย ดวงจันทร์จึงสามารถบังดวงอาทิตย์ได้มิดพอดี ถึงแม้ว่าสุริยุปราคาในชุดเดียวกันจะเกิดขึ้นทุก 18 ปี แต่พื้นที่เดียวกันจะเห็นสุริยุปราคาอีกครั้งในช่วงประมาณ 300-400 ปี

 

เงาของดวงจันทร์ประกอบด้วยเงามืด (เงาส่วนที่มืดและมีรูปร่างรูปกรวย ที่จุดสีเหลืองในแผนภาพ) และเงามัว (พื้นที่แรเงาสีม่วง) คนที่อยู่ในเงามืดจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังหมดดวง ขณะที่คนอีกส่วนที่อยู่ในเงามัวจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังไปบางส่วน

 

 

 

Eclipse diagramพื้นที่บนโลกที่สังเกตเห็นสุริยุปราคา
Credit: Theresa Knott using NASA images.

 

ปรากฏการณ์เหล่านี้จะเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง” และ “สุริยุปราคาบางส่วน” ตามลำดับ สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดเพียงไม่กี่นาที จากการที่เงาของดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ไปทางตะวันออก ด้วยอัตราเร็วมากกว่า 1,700 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นได้นานที่สุดไม่เกิน 7 นาที 40 วินาที

คลิกที่นี่ เพื่อดูอนิเมชันเกี่ยวกับสุริยุปราคาเต็มดวง และสุริยุปราคาบางส่วน

หากจะค้นหาว่าพื้นที่ใดบนโลกที่จะเห็นสุริยุปราคาในช่วงอีก 10 ปีข้างหน้า สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่

 

ในขณะที่ดูสุริยุปราคาอยู่ การที่ไม่จ้องมองดวงอาทิตย์โดยตรงนั้นสำคัญมาก ถึงแม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บังก็ตาม เพราะดวงอาทิตย์จะยังสว่างมากพอที่จะทำให้ดวงตาได้รับความเสียหายอย่างถาวรจนตาบอดได้ สำหรับคำแนะนำในการดูสุริยุปราคาอย่างปลอดภัยนั้น สมาคมดาราศาสตร์หลวงแห่งสหราชอาณาจักร (RAS) และสมาคมดาราศาสตร์ภาคประชาชนแห่งสหราชอาณาจักร (SPA) ได้ทำเอกสารเรื่องนี้ในรูปแบบไฟล์ pdf ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์นี้