NSO

asteroid impactภาพวาดจินตนาการแสดงการพุ่งชนของวัตถุใกล้โลก
Credit: NASA/Bern Oberbeck/Dr. Kevin Azhnle
การพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยและดาวหางขนาดใหญ่ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมาก และพลังการทำลายล้างจากการพุ่งชนอาจแผ่ออกไปได้ไกลจากพื้นที่หลุมอุกกาบาต อย่างอุกกาบาตขนาด 200 เมตรสามารถทำลายเมืองใหญ่ๆได้

ผลกระทบอย่างแรกที่จะเกิดขึ้นคือ คลื่นกระแทก (Shockwave) รุนแรงจากการพุ่งชน คลื่นกระแทกดังกล่าวจะเคลื่อนตัวออกไปอย่างรวดเร็วมาก ส่งผลให้เกิดกระแสลมแรงในระดับพายุเฮอริเคน แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ และไฟไหม้ที่ลุกลามเป็นบริเวณกว้าง

หลังจากคลื่นกระแทกผ่านไปไม่นาน เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลจากเศษฝุ่นหรือไอน้ำที่สาดกระเด็นขึ้นมาสู่บรรยากาศนับหลายล้านตัน จากการพุ่งชนบริเวณแผ่นดินหรือมหาสมุทร แบบจำลองจากคอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นว่ามีวัสดุดังกล่าวในปริมาตรประมาณ 1,000 เท่าของดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งชนถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนโดยตรง ผ่านกระบวยนการที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์ลมลอยตัว” (Chimney effect)

เศษฝุ่นและไอน้ำที่กระเด็นขึ้นไปจากการพุ่งชน ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศของโลกหนาทึบขึ้น จนแสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องลงมาถึงพื้นผิวโลก อุณหภูมิทั่วโลกจะลดลง และในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือทำให้พืชบนโลกไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เศษฝุ่นเหล่านี้สามารถลอยอยู่ในอากาศได้หลายเดือนหรืออาจเป็นปี นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกจะรบกวนสมดุลของปริมาณแก๊สออกวิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจนในอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต