NSO

Orion constellation mapกลุ่มดาวนายพราน
Credit: Torsten Bronger
กลุ่มดาว (Constellation) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่ปรากฏให้เห็นว่าอยู่ใกล้กันจนสามารถจินตนาการรูปร่างของกลุ่มนั้นได้ วัฒนธรรมโบราณหลายแห่งบนโลกก็มีเรื่องราวนิทานดาวที่ผูกเรื่องจากรูปร่างกลุ่มดาวที่มองเห็นบนท้องฟ้ายามค่ำคืน

 

กลุ่มดาวที่หลายคนรู้จักบางกลุ่มดาวก็มีดาวฤกษ์สว่างเกาะกลุ่มกันเป็นรูปร่างที่คุ้นเคย เช่น กลุ่มดาวนายพราน (Orion) และกลุ่มดาวสิงโต (Leo)

 

ในยุคปัจจุบันนี้ นักดาราศาสตร์ได้แบ่งพื้นที่บนท้องฟ้าออกเป็นกลุ่มดาว 88 กลุ่ม ที่มีขอบเขตของกลุ่มดาวชัดเจน (ดูภาพประกอบ) ดังนั้น ทุกตำแหน่งบนท้องฟ้าจะขึ้นกับกลุ่มดาวใดกลุ่มดาวหนึ่ง เรายังมี “ดาวเรียงเด่น” (Asterism) ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของดาวฤกษ์ที่เกาะกลุ่มกัน และมักจะเป็นบางส่วนของกลุ่มดาว

 

กลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือส่วนใหญ่จะอ้างอิงจากกลุ่มดาวในวัฒนธรรมกรีกโบราณ ซึ่งสืบทอดต่อเนื่องผ่านยุคกลางมา

 

ในบรรดากลุ่มดาวสมัยใหม่นี้ มี 12 กลุ่มดาวที่ดาวอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่านรอบปี กลุ่มดาวเหล่านี้เรียกว่า “กลุ่มดาวจักรราศี”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มดาวทั้ง 88 กลุ่ม สามารถเข้าไปดูได้ที่ลิงก์นี้

asterismดาวเรียงเด่น “กาน้ำชา”
Credit: makelessnoise
ดาวเรียงเด่น (Asterism) เป็นรูปแบบการเกาะกลุ่มขนาดเล็กของดาวฤกษ์ และส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่ากลุ่มดาวสากล

 

ดาวเรียงเด่นแต่ละกลุ่มจะมีดาวฤกษ์สมาชิกจากกลุ่มดาวคนละกลุ่มกัน หรือจะมาจากกลุ่มดาวเดียวกันก็ได้ โดยมีรูปแบบของดาวเรียงเด่นจะมาจากการลากเส้นเชื่อมดาวชุดที่สว่างที่สุดในกลุ่ม

 

“กระบวยใหญ่” (Big Dipper) เป็นหนึ่งในดาวเรียงเด่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งดาวเรียงเด่นกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major)

 

ถึงแม้ว่าดาวฤกษ์สมาชิกของดาวเรียงเด่นหลายดวงจะมีความสว่างปรากฏที่ใกล้เคียงกัน แต่ดาวพวกนี้มักจะมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ดาวฤกษ์ 7 ดวงในดาวเรียงเด่น “กระบวยใหญ่” อยู่ห่างจากโลกตั้งแต่ 58 ถึง 124 ปีแสง หมายความว่า กว่าแสงจากดาวฤกษ์สมาชิกดาวเรียงเด่นกลุ่มนี้เดินทางมาถึงโลก ต้องใช้เวลาระหว่าง 58 – 124 ปี