ดาวเคราะห์น้อยเป็นก้อนหินก้อนใหญ่หลายก้อนที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งพวกมันมีขนาดเล็กเกินที่จะเรียกว่า “ดาวเคราะห์” ได้
จนถึงปัจจุบันนี้ ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยแล้วหลายแสนดวง ซึ่งในจำนวนนี้ มีดาวเคราะห์น้อยประมาณ 20,000 ดวงที่ได้รับการตั้งชื่อและรหัสกำกับแล้ว “พัลลัส” (Pallas) หนึ่งในดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 550 กิโลเมตร ส่วนดาวเคราะห์น้อยที่เล็กที่สุดเท่าที่เรารู้จักนั้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวไม่กี่สิบกิโลเมตร แต่นักดาราศาสตร์คาดว่าน่าจะมีดาวเคราะห์น้อยที่เล็กกว่าอีกนับหลายล้านดวง
ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ถูกค้นพบใน “แถบดาวเคราะห์น้อย” (Asteroid belt) ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีวงโคจรซ้อนทับกับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่พวกมันไม่ชนกับดาวพฤหัสบดี เรียกดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้เรียกว่า “ดาวเคราะห์น้อยโทรจัน” (Trojan asteroids) ขณะที่ดาวเคราะห์น้อยกลุ่มที่มีวงโคจรผ่านเข้าใกล้โลกมาก จะเรียกว่า “วัตถุใกล้โลก” (Near-Earth Objects หรือ NEOs)
หากคุณสามารถนำดาวเคราะห์น้อยทั้งหมดมารวมเข้าเป็นดาวดวงเดียว จะพบว่าวัตถุที่ได้นั้นมีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกมาก