อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ส่วนใหญ่จะทำการบันทึกความสว่างและความเข้มแสงของวัตถุท้องฟ้าแต่การจำแนกสีของวัตถุจะทำให้นักดาราศาสตร์ทราบรายละเอียดต่างๆมากยิ่งขึ้นเช่นดาวฤกษ์สีฟ้าที่มีอุณหภูมิสูงมักมีขนาดและความสว่างที่มากกว่าดาวฤกษ์สีแดงเป็นต้น
ดังนั้นในการจำแนกสีของวัตถุนักดาราศาสตร์จะใช้แผ่นแก้วกรองแสงที่จะยอมให้แสงทะลุผ่านในช่วงความยาวคลื่นเฉพาะค่าหนึ่งซึ่งช่วงในการทำนายสีของวัตถุจากความแตกต่างของภาพถ่ายจากแผ่นกรองแสงต่างชนิดกันเช่นแสงจากดาวสีน้ำเงินจะทะลุผ่านแผ่นกรองแสงสีฟ้ามากกว่าแผ่นสีแดง
ในกล้องโทรทรรศน์สำหรับงานวิจัยจะติดตั้งแผ่นกรองแสงที่ยอมให้แสงทะลุผ่านที่ช่วงความยาวคลื่นที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษทำให้ข้อมูลที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ต่างชนิดกันสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบและศึกษาเพื่อใช้ในงานวิจัยร่วมกันได้
ตัวอย่างแผ่นกรองแสง
- R : แผ่นกรองแสงในช่วงความยาวคลื่นแสงสีแดงถูกใช้บ่อยเพื่อใช้ศึกษาดาวที่มีอุณหภูมิต่ำ
- V : แผ่นกรองแสงในช่วงความยาวคลื่นที่ตามองเห็นได้จะยอมให้แสงในปริมาณที่เหมือนกับที่ตามองเห็น
- B : แผ่นกรองแสงในช่วงความยาวคลื่นแสงทีฟ้า ถูกใช้เพื่อศึกษาวัตถุที่มาอุณหภูมิสูง
Ha หรือไฮโดรเจนแอลฟา: แผ่นกรองแสงที่ยอมให้ค่าความยาวคลื่นค่าหนึ่งในช่วงแสงสีแดงทะลุผ่านแหล่งกำเนิดแสงในช่วงคลื่นนี้มักเกิดจากธาตุไฮโดนเจนที่มีความอุณหภูมิสูงซึ่งมีความสำคัญมากต่อการศึกษาทางดาราศาสตร์เนื่องจากปริมาณธาตุส่วนใหญ่ในเอกภพประกอบคือธาตุไฮโดรเจนทำให้เป็นผลดีต่อการศึกษาและค้นหากลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ในอวกาศ