NSO

neptune rแบบจำลองดาวเนปจูนขณะหมุนรอบตัวเอง
Credit: Almond/NASA
ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์แก๊สที่มีสีออกไปทางฟ้าเช่นเดียวกับดาวยูเรนัส และเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด (ห่างออกไปถึง 30 เท่าของระยะจากโลกถึงดวงอาทิตย์) ดาวเนปจูนมีความโน้มถ่วงที่พื้นผิวของดาวเคราะห์เป็นอันดับที่ 2 ในระบบสุริยะ รองจากดาวพฤหัสบดี

ดาวเนปจูนถูกตรวจเจอครั้งแรกผ่านการสังเกตการณ์การโคจรของดาวยูเรนัส ซึ่งดูเหมือนว่าตัวดาวยูเรนัสจะถูกดึงโดยดาวเคราะห์ดวงอื่น ดังนั้น การค้นพบดาวเนปจูนจึงทำโดยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยอเล็กซิส บูวาร์ด (Alexis Bouvard) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ก่อนที่จะเจอดาวเนปจูนด้วยการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์

ดาวเนปจูนมีสัดส่วนของ “น้ำแข็ง” เช่น น้ำ แอมโมเนีย มีเทนสูงกว่า (เมื่อเทียบกับดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์) เช่นเดียวกับดาวยูเรนัส และแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศทำให้ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน ริ้วลายเส้นสีขาวที่พบบนดาวเนปจูนนั้นเป็นเมฆชั้นสูง ที่บ่งชี้ว่าบรรยากาศของดาวเนปจูนมีสภาพอากาศที่มีพลวัตรอย่างมาก ลมบนดาวเนปจูนเป็นกระแสลมที่พัดเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ โดยมีความเร็วที่สูงถึง 2,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

tritonภาพถ่ายดวงจันทร์ไทรทันจากยานวอยเอเจอร์ 2
Credit: NASA
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์ขนาดเล็กอย่างน้อย 13 ดวง และดวงจันทร์ขนาดใหญ่ 1 ดวงชื่อไทรทัน (Triton)

ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่ได้สำรวจดาวเนปจูน คือ ยานวอยเอเจอร์ 2 ที่ไปถึงดาวเคราะห์ดวงนี้ ในปี ค.ศ.1989 ซึ่งนอกจากจะถ่ายภาพดาวเนปจูนส่งกลับมาแล้ว ยังถ่ายภาพดวงจันทร์ของดาวเนปจูนบางดวง อย่างเช่นภาพดวงจันทร์ไทรทันที่ถ่ายระหว่างที่ยานเคลื่อนเข้าใกล้ด้วย