NSO

jup rแบบจำลองดาวพฤหัสบดีขณะหมุนรอบตัวเอง
Credit: Almond/NASA
ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ โดยมีมวลถึง 2.5 เท่าของมวลดาวเคราะห์ที่เหลือรวมกัน แต่เป็นมวลเพียง 1/1,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ขณะที่ชนาดของดาวพฤหัสบดีใหญ่จนสามารถจุดาวเคราะห์ที่เหลือทุกดวงรวมกันใส่ลงไปได้

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ เช่นเดียวกับดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน หมายความว่าดาวพฤหัสบดีไม่มีพื้นผิวส่วนไหนเลยที่เป็นของแข็ง แต่จะมีลักษระเป็นลูกบอลแก๊สขนาดใหญ่ ประกอบด้วยไฮโดรเจน 75% และฮีเลียม 24% แถบเมฆสีอ่อนของดาวพฤหัสบดี เรียกว่า “โซน” (Zones) ประกอบด้วยแก๊สผลึกน้ำแข็งของแอมโมเนีย ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่แน่ใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดแถบเมฆสีคล้ำของดาวพฤหัสบดี เรียกว่า “เข็มขัด” (Belt) แต่พบว่าองค์ประกอบทางเคมีในแถบเข็มขัดเป็นพวกซัลเฟอร์ (กำมะถัน), ฟอสฟอรัส และคาร์บอน

Jupiterภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีและเงาของดวงจันทร์ยูโรปาที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวดาว
Credit: NASA
ดาวพฤหัสบดียังเป็นดาวเคราะห์ที่หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุดในระบบสุริยะ โดย 1 วันของดาวพฤหัสบดีมีระยะเวลาสั้นกว่า 10 ชั่วโมง หากคุณสังเกตภาพเคลื่อนไหว จะเห็นจุดแดงใหญ่กำลังเคลื่อนที่ไปรอบๆ จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ คล้ายๆกับพายุเฮอร์ริเคน โดยมีการพบจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีครั้งแรกมานานกว่า 300 ปีแล้ว ในขณะนั้น จุดแดงใหญ่มีขนาดยาวที่สุด ซึ่งมีความยาวถึง 3 เท่าครึ่งของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโลก

ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์ที่ถูกค้นพบแล้วอย่างน้อย 69 ดวง โดยกลุ่มดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดี (ไอโอ ยูโรปา แกนีมิด และคัลลิสโต) ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1610 โดยกาลิเลโอ นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ยานอวกาศลำแรกที่ไปถึงดาวพฤหัสบดี คือ ยานไพโอเนียร์ 10 ที่ไปถึงในปี ค.ศ.1973 จากนั้นเป็นต้นมา มียานที่ไปถึงดาวพฤหัสบดีรวมกันแล้ว 7 ลำจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยานลำล่าสุดที่ไปถึงดาวพฤหัสบดีคือ ยานจูโน (Juno) ที่ถึงดาวพฤหัสบดีในปี ค.ศ.2016