NSO

mars rแบบจำลองดาวอังคารขณะหมุนรอบตัวเอง
Credit:Almond/NASA
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 4 หากนับจากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของระบบสุริยะ รองจากดาวพุธ

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินเช่นเดียวกับดาวพุธ ดาวศุกร์ และโลก หมายความว่าดาวอังคารมีองค์ประกอบเป็นหินที่ประกอบด้วย แร่ โลหะ และธาตุอื่นๆ และมีพื้นผิวเป็นของแข็ง พื้นผิวดาวอังคารมีสนิมเหล็ก (ออกไซด์ของเหล็ก) อยู่เป็นจำนวนมากทำให้ดาวอังคารมีสีออกไปทางสีแดง ทำให้เรามักเรียกดาวอังคารว่า “ดาวเคราะห์แดง” ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็กและรูปร่างไม่สม่ำเสมอ 2 ดวง ชื่อว่าโฟบอส และไดมอส

เส้นผ่านศูนย์กลางของดาวอังคารมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางโลก และเนื่องจากดาวอังคารมีมวลและขนาดที่เล็กกว่า ความโน้มถ่วงของดาวอังคารจึงมีเพียง 40% ของความโน้มถ่วงโลก ดาวอังคารมีชั้นบรรยากาศบางๆ ที่ประกอบด้วย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (95%) อาร์กอน (2%) และไนโตรเจน (2%)

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุด (ชื่อว่า โอลิมปัส มอนส์ (Olympus Mons)) และหุบเหวที่ใหญ่ที่สุด (ชื่อว่า วัลเลส มารีเนอริส (Valles Marineris)) ในระบบสุริยะ คุณสามารถดูหุบเหวนี้ที่ปรากฏบนแบบจำลองดาวอังคารกำลังหมุนรอบตัวเอง โดยเทียบกับรูปหุบเหววัลเลส มารีเนอริสในรูปด้านล่าง

 

valles Marinerisหุบเหวขนาดใหญ่บนดาวอังคาร “วัลเลส มารีเนอริส”
Credit: NASA
พายุฝุ่นขนาดใหญ่สามารถพัดปกคลุมพื้นผิวดาวอังคารทั่วทั้งดวงได้ ทำให้พื้นผิวดาวอังคารดูแตกต่างออกไปในบางครั้ง ดาวอังคารมีขั้วน้ำแข็งที่ประกอบด้วยน้ำแข็ง และดูเหมือนว่าดาวอังคารจะเคยมีทะเลสาบอยู่บนพื้นผิวดาวเมื่อนานมาแล้ว หากดาวอังคารเคยมีน้ำในสถานะของเหลวอยู่บนพื้นผิวในอดีต ก็เป็นไปได้ว่าดาวอังคารจะเคยมีสิ่งมีชีวิต

ตั้งแต่ที่ยานมารีเนอร์ 4 ไปถึงดาวอังคาร ในปี ค.ศ.1964 ก็มียานจำนวนมากไปยังดาวอังคารในเวลาต่อมา รถหุ่นยนต์ออพพอร์ทูนิตี (Opportunity) และคิวรีออซิตี (Curiosity) ยานสำรวจ 2 ลำบนพื้นผิวดาวกำลังมองหาหลักฐานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบน