NSO

ven rot cแบบจำลองดาวศุกร์ขณะหมุนรอบตัวเอง
Credit: Almond/NASA
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 2 หากนับจากดวงอาทิตย์ ถ้าไม่นับดวงจันทร์แล้ว ดาวศุกร์จะเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน

ดาวศุกร์เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์หิน 4 ดวงในระบบสุริยะ หมายความว่า ดาวศุกร์จะมีความคล้ายคลึงกับโลกตรงที่มีองค์ประกอบหลักเป็นหินและมีพื้นผิวเป็นของแข็ง แต่บรรยากาศของดาวศุกร์กลับประกอบด้วยชั้นเมฆหนาทึบของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ความดันที่พื้นผิวดาวสูงถึง 92 เท่าของความดันที่พื้นผิวโลก ชั้นเมฆหนาทึบเหล่านี้ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) อย่างรุนแรง จนทำให้ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุดในระบบสุริยะ ถึงแม้ว่าดาวพุธจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าก็ตาม โดยพื้นผิวของดาวศุกร์ร้อนถึง 462 องศาเซลเซียส ดาวศุกร์ยังมีสภาพที่แปลกประหลาด ตรงที่มีการหมุนรอบตัวเองในทิศทางแตกต่างจากดาวเคราะห์ส่วนใหญ่

ถึงแม้ชั้นเมฆหนาทึบจะคอยบดบังไม่ให้เห็นพื้นผิวดาวศุกร์ที่อยู่ใต้ลงไปได้ แต่ก็สามารถทำแผนที่ดาวศุกร์โดยการใช้เรดาร์ได้ ในแผนที่แสดงภูเขาไฟจำนวนมากและหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่บนดาวศุกร์ ซึ่งไม่มีหลุมอุกกาบาตที่มีความกว้างน้อยกว่า 3 กิโลเมตรเลย เนื่องจากดาวตกขนาดเล็กมักถูกเผาไหม้จนหมดไปในชั้นเมฆหนาทึบก่อนที่จะถึงพื้นผิวดาวศุกร์

 

Venus surface radarแผนที่พื้นผิวดาวศุกร์จากเรดาร์
Credit: NASA
อดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐฯ องค์การอวกาศยุโรป และญี่ปุ่นได้ส่งยานไปสำรวจดาวศุกร์ ตั้งแต่ยานมารีเนอร์ 2 (Mariner 2) ยานลำแรกที่สำรวจดาวศุกร์ในปี ค.ศ.1962 จากนั้นก็มียานไปสำรวจดาวศุกร์มากกว่า 25 ลำ โดยยานลำแรกที่โคจรรอบดาวศุกร์ คือ ยานมาเจลลัน (Magellan) ซึ่งทำภาพและแผนที่พื้นผิวดาวศุกร์ด้วยเรดาร์ (ภาพถูกแสดงไว้ทางด้านซ้าย)