NSO

merc rแบบจำลองดาวพุธขณะหมุนรอบตัวเอง Credit: Almond/NASAดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด และยังเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ

ดาวพุธมีองค์ประกอบหลักเป็นโลหะหนักจำพวกเหล็ก และหินที่อยู่ตามเปลือกดาวกับชั้นแมนเทิล ดาวเคราะห์ดวงนี้ยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นมากเป็นอันดับสองในระบบสุริยะ รองจากโลก

ตัวดาวพุธไม่มีดวงจันทร์ที่โคจรโดยรอบตัวมันเอง พื้นผิวดาวพุธเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตเช่นเดียวกับดวงจันทร์ หลุมอุกกาบาตบนดาวพุธส่วนใหญ่เกิดจากดาวหางและดาวเคราะห์น้อยที่มาพุ่งชนกับดาวพุธ ในช่วงที่ระบบสุริยะก่อตัว ซึ่งพื้นผิวของดาวพุธต่างกับดาวเคราะห์ดวงอื่นตรงที่ไม่มีการสร้างพื้นผิวใหม่โดยผ่านกระบวนการทางภูเขาไฟ พื้นผิวดาวพุธจึงมีแต่หลุมอุกกาบาตอายุมาก

 

mercury messengerแผนที่แสดงระดับความสูงต่ำของพื้นผิวดาวพุธ
Credit: NASA
ดาวพุธไม่สามารถมีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มโดยรอบได้ เนื่องจากตัวดาวพุธมีขนาดเล็กและมีความโน้มถ่วงน้อย ขณะที่ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ลมสุริยะ (Solar wind: กระแสอนุภาคที่ประจุไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์) จึงกวาดแก๊สที่ออกมาจากดาวพุธออกสู่อวกาศอย่างรวดเร็ว การที่ดาวพุธไม่มีบรรยากาศที่คอยช่วยปรับอุณหภูมิ ทำให้อุณหภูมิด้านกลางวันกับกลางคืนของดาวพุธแตกต่างกันอย่างมาก โดยพื้นผิวดาวพุธด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะมีอุณหภูมิสูงถึง 427 องศาเซลเซียส ขณะที่ด้านกลางคืนจะมีอุณหภูมิลดต่ำลงถึง -173 องศาเซลเซียส

ยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวพุธลำแรกคือยานมารีเนอร์ 10 (Mariner 10) ในปี ค.ศ.1974 และแผนที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นผิวดาวพุธทั้งหมด ส่วนยานสำรวจดาวพุธลำที่สอง คือ ยานเมสเซนเจอร์ (MESSENGER) ที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ.2004 ยานลำนี้ได้ทำแผนที่ดาวพุธที่มีความละเอียดมากขึ้น ซึ่งภาพทางด้านซ้ายนี้เป็นแผนที่ดาวพุธที่ทำขึ้นโดยภาพถ่ายจากยาน พื้นที่ต่ำจะมีสีม่วง ส่วนพื้นที่สูงจะมีสีแดง