NSO

นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าบนดาวเคราะห์ดวงใดที่อาจมีสิ่งมีชีวิตทั้งดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราและดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ โดยวิธีการที่ใช้มีหลายวิธีด้วยกัน

 

การค้นหาสิ่งมีชีวิตจากปัจจัยบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker)

 

biospecสเปกตรัมบนดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร
Credit: NSO
ชั้นบรรยากาศของโลกมีสเปกตรัมที่แตกต่างจากดาวศุกร์และดาวอังคาร เนื่องจากดาวศุกร์และดาวอังคารมีคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก ในขณะที่บนโลกมีโอโซนและน้ำเป็นจำนวนมาก แต่มีคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อย

 

โอโซนคือสารประกอบที่เกิดจากออกซิเจน ถ้าหากพบโฮโซนปริมาณมากก็จะพบออกซิเจนในปริมาณมากด้วยเช่นกัน นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งเชื่อว่าออกซิเจนที่มีจำนวนมากสามารถทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตเช่นพืชบนพื้นดินและสาหร่ายในมหาสมุทร ดังนั้นถ้าหากค้นพบดาวเคราะห์ที่มีโอโซนอยู่ในชั้นบรรยากาศก็มีโอกาสสูงที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นจะมีสิ่งมีชีวิต

 

ซึ่งในขณะนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศกำลังพยายามค้นหาโฮโซนในดาวเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต

 

สิ่งต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าอาจมีสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ปัจจัยบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker)โอโซนเป็นปัจจัยบ่งชี้ทางชีวภาพอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าแก๊สโอโซนจะมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต แต่บนดาวเคราะห์ดวงอื่นสิ่งมีชีวิตอาจไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต ตัวอย่างเช่นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นมหาสมุทรที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน

 

SETI – โครงการค้นหาอารยธรรมนอกโลก

 

Allen array SETIกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใช้ในโครงการ SETI
Credit: Colby Gutierrez-Kraybill
SETI คือ โครงการร่วมมือระหว่างประเทศซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์กว่าร้อยคน นักการศึกษา และผู้เข้าร่วมอื่น ๆ อีกมากมาย ร่วมมือกันเพื่อค้นหาอารยธรรมที่อยู่บนดาวดวงอื่น

 

ในความจริงแล้วเรายังไม่ทราบว่าสัญญาณที่บ่งบอกถึงสิ่งมีชีวิตนอกโลกจะเป็นอย่างไร การติดต่อกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกดูเหมือนว่ายังเป็นเรื่องที่เทคโนโลยีของมนุษย์ยังไม่สามารถทำได้ เราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกจะมีกระบวนการคิดอย่างไร สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือการเรียนรู้จากเทคโนโลยีและความรู้ที่เรามีอยู่ตอนนี้

 

สัญญาณแรกที่โครงการ SETI ได้รับและสันนิษฐานว่าอาจเป็นสัญญาณของสิ่งมีชีวิตนอกโลกคือคลื่นที่ความถี่ประมาณ 1,420 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นสเปกตรัมความถี่ของไฮโดรเจน สัญญาณดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญา สำหรับการตรวจวัดสัญญาณที่ความถี่นี้ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุทั่วโลกเช่น Allan Telescope Arrey (ดังรูป)

 

เพื่อตรวจวัดสัญญาณจากท้องฟ้ายามค่ำคืนโดยมีเป้าหมายที่บริเวณใกล้ ๆ ดาวฤกษ์

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ SETI คลิกที่นี่