-
ระยะที่ 1
แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์กระทำต่อส่วนต่างๆทั่วโลก
ลูกศรสีส้มในแผนภาพข้างบนแสดงให้เห็นว่าแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์กระทำต่อส่วนต่างๆของโลกมากน้อยแค่ไหน คุณสามารถเห็นจากความยาวของลูกศรที่แสดงว่า แรงที่กระทำต่อด้านใกล้ดวงจันทร์จะมากกว่าแรงที่กระทำต่อใจกลางโลก และแรงที่กระทำต่อใจกลางโลกก็มากกว่าแรงที่กระทำต่อด้านไกลดวงจันทร์ (โลกฝั่งที่หันออกจากดวงจันทร์)
-
ระยะที่ 2
แรงไทดัลก็เปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละส่วนทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม สภาวะน้ำขึ้น-น้ำลงก็เกิดจากความแตกต่างระหว่างแรงโน้มถ่วงที่ดวงจันทร์กระทำต่อพื้นผิวโลกแต่ละฝั่งกับใจกลางโลก ลูกศรสีฟ้าแสดงผลความแตกต่างระหว่างแรงดังกล่าว ซึ่งความแตกต่างนี้เรียกว่า “แรงไทดัล” ดังนั้น แรงไทดัลจะมีทิศทางชี้มาที่ดวงจันทร์สำหรับด้านใกล้ดวงจันทร์ของโลก และชี้ออกไปในทิศทางตรงข้ามสำหรับด้านไกลดวงจันทร์ของโลก
-
ระยะที่ 3
น้ำจะไหลไปกองรวมกันอยู่ในบริเวณที่แรงไทดัลมาก
เนื่องจากหินบนโลกมีสถานะเป็นของแข็ง จึงไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นจากแรงไทดัล แต่น้ำสามารถเคลื่อนตัวได้ง่ายกว่าและไหลไปกองรวมกันจนมีลักษณะป่อง ในทิศทางเข้าหาดวงจันทร์และชี้ออกห่างจากดวงจันทร์ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือจะเกิดน้ำขึ้น2 ครั้ง ได้แก่ น้ำขึ้นเมื่อดวงจันทร์ปรากฏอยู่สูงสุดจากขอบฟ้า และน้ำขึ้นอีกครั้งเมื่อดวงจันทร์ปรากฏอยู่ต่ำลงไปจากขอบฟ้ามากที่สุด