NSO

as20171016 1 01 

16 ตุลาคม 2560

ปลายเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2014 ยานอวกาศ MAVEN ขององค์การนาซาพบออโรราช่วงคลื่นอัลตราไวโอเล็ตในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารนานประมาณ 5 วัน โดยตำแหน่งที่เกิดแสงออโรรานี้อยู่บริเวณซีกเหนือไม่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคารนัก และมีการประกาศออกมาเมื่อปี 2015

 

as20171014 1 01 

14 ตุลาคม 2560

29 กันยายนที่ผ่านมานี้ ในงานประชุมการบินอวกาศนานาชาติ (InternationAstronauticalCongres) ที่ประเทศออสเตรเลีย อีลอนมัสก์ ผู้ก่อตั้งและบริหารบริษัทสเปซเอกซ์แถลงความคืบหน้าโครงการอวกาศในการส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคารด้วยการเปิดตัวจรวด BFR (Big Falcon Rocket) ซึ่งจะนำเทคโนโลยีที่ใช้กับจรวดที่มีอยู่แล้วมาต่อยอดและตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อให้จรวดลำเล็กลงที่สุดเท่าที่จะทำได้ (แต่กระนั้นมันก็ยังมีขนาดใหญ่มากๆ)

 

as20171012 2 01 

12 ตุลาคม 2560

          หากจะพูดถึงผู้ที่มีแนวคิดหวือหวาที่สุดเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศอันดับต้นๆของโลกคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก อีลอน มัสค์ (Elon musk) ผู้บริหารบริษัทสเปซเอ็ก ล่าสุดเขาได้ออกมาแถลงในงานประชุมการบินอวกาศนานาชาติ (InternationAstronauticalCongres) ที่ประเทศออสเตรเลียสำหรับการเดินทางที่ไร้พรหมแดนด้วยจรวดรุ่นใหม่ BFR ที่จะมาแทนจรวด Falcon 9 ที่ใช้งานอยู่ ณ ปัจจุบัน และจรวด Falcon Heavy(สามารถบรรทุกของน้ำหนักได้ถึง 30 ตัน) ที่จะเปิดตัวทดลองใช้งานในปีหน้านี้

 

          จรวด BFR นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้เดินทางจากโลกไปยังดาวเคราะห์ดวงอื่น แต่คุณมัสค์ เขาต้องการให้ BFR เป็นจรวดขนส่งทั้งคนและสินค้าระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ ระหว่างทวีป และแนวคิดที่สุดเหวี่ยงคือ เดินทางจากโลกไปยังดวงจันทร์ สถานีอวกาศนานาชาติ และดาวอังคาร ในระยะเวลาอันสั้น 

 

as20171012 1 01 

 12 ตุลาคม 2560

          วันที่ 12 ตุลาคม 2560 จะมีดาวเคราะห์น้อยโคจรเข้าใกล้โลกอีกหนึ่งดวง 2012TC4 คือชื่อของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้และจะเฉียดโลกไปในวันที่ 12 ตุลาคม 2560 เวลา 12.41น. ด้วยระยะห่างประมาณ 42,000 กิโลเมตร หรือเกือบหนึ่งในสิบของระยะทางจากโลกไปถึงดวงจันทร์ เมื่อเทียบระยะห่างตอนที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดของดาวเคราะห์น้อยด้วงนี้กับดวงอื่นๆ ก็สามารถใช้คำว่า “เฉียดโลก” ได้แต่ด้วยขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของมันแค่  15-30 เมตร จึงถือว่าไม่มีความเสี่ยงใดๆที่จะพุ่งชนโลก 

 

as20171010 1 02

6 ตุลาคม 2560

          กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซาช่วยให้ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติค้นพบวัตถุประหลาดในแถบดาวเคราะห์น้อย ในความเป็นจริงเเล้วมันคือ ดาวเคราะห์น้อยสองดวงโคจรรอบกันแต่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาวหางเนื่องจากมีกลุ่มเมฆโมเลกุลปรากฏสว่าง ล้อมรอบ ซึ่งเรียกว่า โคมา และมีหางฝุ่นยาว

 

          ล่าสุดในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2017 ที่ผ่านมา องค์การอวกาศ Roscosmos ของรัสเซียประกาศลงนามความร่วมมือกับองค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาเพื่อพัฒนาสถานีอวกาศแห่งใหม่ที่ชื่อว่า Deep Space Gateway ที่โคจรระหว่างโลกและดวงจันทร์ ณ งานประชุมวิชาการการบินอวกาศนานาชาติ ครั้งที่ 68 (68th International Astronautical Congress) ในเมืองแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ของทั้งสองประเทศเป็นการสะท้อนให้เห็นวิสัยทัศน์ของการสำรวจอวกาศที่มีร่วมกัน