NSO

กล้องโทรทรรศน์ไจแอนท์แมกเจลแลน หรือ กล้องจีเอ็มที (Giant Magellan Telescope: GMT) หนึ่งในกล้องโทรทรรศน์ทางแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในปัจจุบัน กำลังเริ่มดำเนินการเจาะชั้นหินแข็งใต้ดินที่มีความหนา 7 เมตรสำหรับการวางฐานของกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งจะต้องเสร็จให้ทันตามแผนก่อนเปิดใช้งานจริงอย่างเป็นทางการ ในปี 2567 และเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ กล้องโทรทรรศน์จีเอ็มทีจะมีประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมกว่ากล้องโทรทรรศน์ทางแสงหลายๆแห่งบนโลก โดยทีมนักดาราศาสตร์วางแผนที่จะใช้กล้องโทรทรรศน์จีเอ็มทีศึกษาวิวัฒนาการของเอกภพในยุคแรกเริ่ม (ancient universe) และค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตนอกโลก

ทีมนักวิทยาศาสตร์ซึ่งนำทีมโดย Shuai Li จากมหาวิทยาลัยฮาวาย และมหาวิทยาลัยบราวน์ ร่วมกับ Richard Elphic จากศูนย์วิจัยเอมส์ (Ames Research Center) ของนาซาใน ซิลิคอนแวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ใช้ข้อมูลจากยานสำรวจจันทรายาน-1 ที่มีอุปกรณ์เครื่องสเปกโตรมิเตอร์ ที่ใช้จัดทำแผนที่พื้นผิวดวงจันทร์ความละเอียดสูง (Moon Mineralogy Mapper หรือ M3) ของนาซา ในการตรวจสอบเพื่อยืนยันการมีอยู่ของน้ำแข็งบนพื้นผิวดวงจันทร์ พบว่าน้ำแข็งเหล่านี้มีการกระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบอยู่บริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของดวงจันทร์และอาจเป็นน้ำแข็งที่มีความเก่าแก่มากอีกด้วย

ปัจจุบัน หน่วยงานด้านอวกาศทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจและมีการวางแผนการส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจดาวอังคารเป็นจำนวนมาก ความท้าทายหนึ่งของภารกิจสำรวจอวกาศต้องเผชิญก็คือ ปริมาณแก๊สออกซิเจน (O2) สำหรับใช้หายใจและผลิตพลังงานไฟฟ้าภายในยานมีปริมาณจำกัด ซึ่งส่งผลต่อการเดินทางระยะยาวในอวกาศ

เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์ตรวจพบการระเบิดอย่างรวดเร็วและรุนแรงของคลื่นวิทยุ (Fast Radio Bursts ; FRBs) จากแหล่งที่มาที่ไม่ทราบแน่ชัดในอวกาศได้ ซึ่งเป็นการระเบิดที่มีพลังงานมากที่สุดเท่าที่เคยตรวจพบ

หลายคนคงจะใฝ่ฝันเดินทางไปชมแสงออโรราที่ปรากฏขึ้นอย่างสวยงามในยามราตรีบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้สักครั้ง แต่รู้ไหม เพื่อนบ้านเราอย่างดาวอังคารเองก็มีออโรราเช่นกัน และยาน MAVEN ขององค์การนาซาก็เพิ่งพบออโรราแบบที่เกิดขึ้นยากซึ่งเกิดเวลากลางวันบนดาวอังคาร! โดยการวิจัยในครั้งนี้ ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Astronomy เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา