NSO

วันที่ 18 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา (ตามเวลาประเทศไทย) อีลอน มัสก์ ประธานบริหารบริษัท SpaceX ประกาศแผนท่องเที่ยวดวงจันทร์ด้วยจรวดรุ่นใหม่ล่าสุด “บิกฟัลคอน” (BFR)  พามหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่นพร้อมศิลปินกลุ่มหนึ่งซึ่งจะเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่ได้โคจรรอบดวงจันทร์ ตั้งเป้าเดินทางในปี 2566 

        ยูซากุ มาเอซาวะ (Yusaku Maezawa) มหาเศรษฐีเจ้าของธุรกิจขายแฟชั่นออนไลน์ ZOZO ผู้หลงรักดวงจันทร์ตั้งแต่เด็ก เป็นผู้สนับสนุนหลักในภารกิจนี้และจะร่วมเดินทางไปด้วย ใช้เวลาเดินทางไปกลับประมาณ 1 สัปดาห์  ได้เหมาเที่ยวบินนี้ทั้งหมดและเปิดโครงการ Dear Moon เพื่อคัดเลือกศิลปินทั่วโลกในหลายสาขา อาทิ จิตรกร ช่างแกะสลัก ดีไซน์เเนอร์  สถาปนิก ฯลฯ จำนวน 6-8 คน ร่วมดินทางไปด้วยและออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด  แต่ผู้ร่วมโครงการต้องออกกำลังกายเพื่อเตรียมร่างกายให้แข็งแรง เนื่องจากการเดินทางอวกาศเต็มไปด้วยอันตราย  เขาคาดหวังว่า ศิลปินดังกล่าวที่ร่วมเดินทางไปกับเขาจะนำประสบการณ์เดินทางไปดวงจันทร์ในครั้งนี้ มาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ  ต่อยอดจินตนาการและความฝันของคนอื่น ๆ ให้หลงรักดวงจันทร์เหมือนกับเขาเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก

การเดินทางไปดาวอังคารนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากระยะทางที่ห่างไกลแล้ว อุปสรรคระหว่างทางนั้นก็ยังมีมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือรังสีคอสมิกเป็นอันตรายต่อนักบินอวกาศหากได้รับในปริมาณมาก ล่าสุด ข้อมูลที่ได้จากยาน ExoMars TGO นั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำการประมาณค่ารังสีที่นักบินอวกาศจะได้รับระหว่างการเดินทางไป-กลับดาวอังคารได้

การศึกษาดาวเคราะห์น้อยคู่ชื่อ Patroclus-Menoetiusได้เผยให้เห็นความวุ่นวายและปั่นป่วนของระบบสุริยะในยุคเริ่มต้น โดยดาวเคราะห์น้อยคู่นี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์น้อยโทรจันของดาวพฤหัส โดยดาวเคราะห์น้อยโทรจันเหล่านี้จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในวงโคจรที่ใกล้เคียงกับวงโคจรของดาวพฤหัส 

เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561 มีการประกาศผลการพิจารณามอบรางวัล Special Breakthrough Prize สาขาฟิสิกส์พื้นฐานแก่ “ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิง โจเซลิน เบลล์ เบอร์แนลล์” แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยดันดี สหราชอาณาจักร ในฐานะที่เธอมีส่วนร่วมสำคัญอย่างยิ่งในการค้นพบพัลซาร์ รวมถึงเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจต่อวงการวิทยาศาสตร์โลกในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา

ในคืนวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา ตามเวลาของประเทศไทย ลูกเรือบนสถานีอวกาศนานาชาติ( ISS) ได้ซ่อมแซมบริเวณที่มีรูรั่วบนยานโซยูสที่เชื่อมกับสถานี ด้วยการยาแนวเพื่ออุดรูรั่วแบบชั่วคราวเรียบร้อยแล้ว แต่วิศวกรที่ศูนย์ควบคุมจากภาคพื้นดินกำลังเร่งหาทางแก้ไขแบบถาวรอยู่