NSO

สนามแม่เหล็กของโลกเรานั้นเกิดจากแก่นด้านนอกที่เป็นเหล็กหลอมเหลวเกิดการไหลเนื่องจากความร้อนภายในโลก 

เหล็กนั้นมีอิเล็กตรอนอิสระ ดังนั้นเมื่อเกิดการไหลจึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า และเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าไหลวนย่อมเกิดการแผ่สนามแม่เหล็กออกมาโดยรอบ โดยที่ขั้วโลกเหนือนั้นเสมือนมีแม่เหล็กขั้วใต้ฝังอยู่ และที่ขั้วโลกใต้นั้นเสมือนมีแม่เหล็กขั้วเหนือฝังอยู่

6 ปีหลังจากยานวอยเอเจอร์ 1 เดินทางเข้าสู่ที่ว่างระหว่างดวงฤกษ์ ในตอนนี้ยานวอยเอเจอร์ 2 ก็กำลังเดินทางไปถึงสุดขอบของระบบสุริยะแล้วเช่นกัน

เมื่อเราสังเกตความงามของโลกจากสถานีอวกาศนานาชาติ นักบินอวกาศของทีม Expedition 56 บนสถานีอวกาศนานาชาติได้นำภาพถ่ายยามค่ำคืนของเกาะชวาซึ่งเป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดของอินโดนีเซียมาให้เราได้ยลโฉมกัน เกาะชวาสว่างไสวอย่างมากท่ามกลางความมืดในมหาสมุทรอินเดีย เส้นใยแสงที่เชื่อมโยงไปทั่วทั้งเกาะ และกลุ่มแสงสีเขียวในทะเล สะท้อนให้เห็นว่าเกาะนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจ

องค์การบริหารการบินและอวกาศหรือนาซา ส่งดาวเทียมสำรวจธารน้ำแข็ง ICEsat-2 ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2561 เวลา 17:46  ที่ผ่านมา (ตามเวลาในประเทศไทย) สำหรับภารกิจสำรวจและเก็บข้อมูลปริมาณการละลายของธารน้ำแข็งบนพื้นโลก เพื่อทำนายอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำในมหาสมุทร ที่มีสาเหตุหลักจากสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พยายามหาวิธีอธิบายการเกิดแสงวาบของรังสีแกมมา (Gamma-Rays Bursts; GRBs) เนื่องจากแสงวาบที่เกิดขึ้นมีพลังงานสูงมาก และปลดปล่อยออกมาในช่วงเวลาส้ันๆ เท่านั้น จนเมื่อไม่นานมานี้ พวกเขาพบว่าแสงวาบของรังสีแกมมาที่ปลดปล่อยจากหลุมดำ จะปลดปล่อยสัญญาณที่มีลำดับตรงกันข้ามกับตอนแรกอีกครั้ง ราวกับว่าแสงวาบที่เกิดขึ้นเดินทางกลับหน้า-หลังได้ การค้นพบนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (The Astrophysical Journal) วันที่ 13 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา