NSO

as20171010 1 02

6 ตุลาคม 2560

          กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซาช่วยให้ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติค้นพบวัตถุประหลาดในแถบดาวเคราะห์น้อย ในความเป็นจริงเเล้วมันคือ ดาวเคราะห์น้อยสองดวงโคจรรอบกันแต่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาวหางเนื่องจากมีกลุ่มเมฆโมเลกุลปรากฏสว่าง ล้อมรอบ ซึ่งเรียกว่า โคมา และมีหางฝุ่นยาว

 

          ล่าสุดในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2017 ที่ผ่านมา องค์การอวกาศ Roscosmos ของรัสเซียประกาศลงนามความร่วมมือกับองค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาเพื่อพัฒนาสถานีอวกาศแห่งใหม่ที่ชื่อว่า Deep Space Gateway ที่โคจรระหว่างโลกและดวงจันทร์ ณ งานประชุมวิชาการการบินอวกาศนานาชาติ ครั้งที่ 68 (68th International Astronautical Congress) ในเมืองแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ของทั้งสองประเทศเป็นการสะท้อนให้เห็นวิสัยทัศน์ของการสำรวจอวกาศที่มีร่วมกัน 

 

            องค์การนาซานั้นเปิดเผยข้อมูลของโครงการสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 ว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมานาซาได้รับการติดต่อจากหน่วยงานเชิงพาณิชย์เกี่ยวกับโครงสร้างแบบจำลองสถานีอวกาศแห่งใหม่ผ่านโครงการ Next Space Technologies for Exploration Partnerships (NextStep) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจความร่วมมือเพื่อพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีด้านที่อยู่อาศัยและการขนส่งในอวกาศ และตามรายงานจากงานประชุมครั้งนี้ นาซากล่าวว่าจากแบบจำลองทั้งหมดที่ส่งเข้ามาในโครงการ มี 5 แบบจำลองที่ได้รับคัดเลือกให้พัฒนาต้นแบบวิศวกรรมระบบภาคพื้นดินอย่างเต็มรูปแบบ

 

          โครงการนี้มีโครงร่างมาจากการที่องค์การนาซามีแผนจะขยายพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ แนวคิดเริ่มต้นของ นาซาคือสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่แล้วส่งขึ้นไปโคจรระว่างโลกและดวงจันทร์ด้วยจรวดและยานอวกาศโอไรออน (Orion) ซึ่งเป็นระบบการขนส่งเพื่อสำรวจอวกาศแบบใหม่ นอกจากนี้การสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่นี้อาจต้องพึ่งพายานโปรตอน (Proton) และ แองการา (Angara) ของรัสเซียเพื่อช่วยลำเลียงเครื่องมือขึ้นสู่อวกาศ

 as20171010 1 01

          Robert Lightfoot รักษาการผู้บริหารองค์การนาซาได้กล่าวในงานประชุมเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2017 ว่า “ในขณะที่แนวคิดเรื่อง Deep Space Gateway เป็นเพียงแผนการที่กำหนดไว้ แต่นาซากลับยินดีที่เห็นหน่วยงานนานาชาติต่างให้ความสนใจกับแนวคิดนี้ซึ่งจะเป็นอีกขั้นของความก้าวหน้าในการสำรวจอวกาศของมนุษย์”

 

          ในส่วนของรัสเซียนั้น Lgor Komarov หัวหน้าองค์การอวกาศ Roscosmos กล่าวในงานเดียวกันว่า “ขั้นตอนแรกของโครงการนี้จะเกี่ยวข้องกับการสร้างส่วนประกอบของสถานีอวกาศก่อน โดยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่นี้อาจสามารถนำมาประยุกต์ใช้บนพื้นผิวดวงจันทร์และดาวอังคารได้ในภายหลัง” เขากล่าวเพิ่มเติมว่า “อีกส่วนหนึ่งของรัสเซียในโครงการนี้คือพัฒนาโครงสร้างส่วนประกอบของสถานีอวกาศแห่งใหม่ให้ได้ถึง 3 ส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรฐานสำหรับระบบเชื่อมต่อที่สามารถรองรับยานอวกาศของประเทศต่างๆได้ด้วย”

 

           และการลงนามความร่วมมือขององค์การอวกาศ Roscosmos กับองค์การนาซาถือเป็นการยืนยันแนวคิดของโครงการส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์อีกครั้งในปี 2029 ของรัสเชียที่ประกาศไว้ในปี 2015 ซึ่งจากความร่วมมือกับองค์การน่าซ่าในครั้งนี้ทำให้โครงการไปดวงจันทร์ของรัสเชียมีความเป็นไปได้มากขึ้น

 

แล้วคุณคิดว่ามนุษย์จะสามารถไปเยือนดวงจันทร์ได้อีกครั้งหรือไม่

 

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.spaceflightinsider.com/missions/human-spaceflight/nasa-roscosmos-sign-statement-lunar-space-station-cooperation/

https://www.theverge.com/2015/10/28/9628952/roscosmos-crewed-lunar-mission-colony-2029-esa

 

เรียบเรียงโดย

ศวัสกมล ปิจดี

เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์