NSO

as20171006 1 02

6 ตุลาคม 2560

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซาช่วยให้ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติค้นพบวัตถุประหลาดในแถบดาวเคราะห์น้อย ในความเป็นจริงเเล้วมันคือ ดาวเคราะห์น้อยสองดวงโคจรรอบกันแต่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาว         หางเนื่องจากมีกลุ่มเมฆโมเลกุลปรากฏสว่าง ล้อมรอบ ซึ่งเรียกว่า โคมา และมีหางฝุ่นยาว

          วีดิโอ ที่ประมวลผลจากชุดภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ค้นพบดาวเคราะห์น้อยสองดวงโคจรรอบกันซึ่งมีลักษณะคล้ายดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยคู่นี้ มีชื่อว่า 2006 VW139/288P ค้นพบในเดือนกันยายน ค.ศ.2016 ก่อนที่ดาวเคราะห์น้อยคู่นี้จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จากวีดิโอนี้ สังเกตเห็นหางของดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนที่อย่างชัดเจน เมื่อสังเกตจากมุมมองโลกที่เห็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ 2006 VW139/288P รอบดวงอาทิตย์

 

          ในช่วงเดือนกรกฎาคม อนุภาคฝุ่นของหางดาวเคราะห์น้อยมีขนาดใหญ่ 1 มม. จนกระทั่งตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนเป็นต้นมา อนุภาคฝุ่นของหางดาวเคราะห์น้อยมีขนาดเล็กลง 10 ไมครอน และชี้ในทิศตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ 

 

          ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลใช้อธิบาย ดาวเคราะห์น้อย2006 VW139/288P ในช่วงเดือนกันยายน 2016 ก่อนที่ดาวเคราะห์น้อยจะโคจร เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดทำให้นักดาราศาสตร์ทราบว่ามันไม่ใช่ ดาวเคราะห์น้อย เพียงดวงเดียวแต่เป็นดาวเคราะห์น้อยสองดวงที่มีขนาด ใกล้เคียงกันโคจรรอบ กันโดยมีระยะห่างเพียง 97 กิโลเมตร ดาวเคราะห์น้อย 2006 VW139/288P ถูกค้นพบในโครงการ Spacewatch ในเดือน พฤษจิกายน ค.ศ. 2006 ในขณะนั้นนักดาราศาสตร์ไม่เชื่อว่า 2006 VW139/288P จะพบปฏิกิริยาทางเคมีที่คล้ายกับดาวหางจนมีการค้นพบข้อมูลที่ใหม่ ของโครงการ Spacewatch และ Pan-STARRSซึ่งเป็นโครงการสำรวจวัตถุใกล้ โลกขององค์การนาซา ทำให้วัถตุนี้เป็นที่ รู้จักครั้งเเรกในชื่อของ “ดาวเคราะห์น้อยคู่” (binary asteroid) ที่มีลักษณะคล้ายดาวหาง

 

as20171006 1 01

 

          ลักษณะของดาวเคราะห์น้อยคู่ ทั้งระยะห่างระหว่างกัน, ขนาดที่ใกล้เคียงกัน, และปฏิกิริยาทางเคมีที่คล้ายดาวหางทำให้มันพิเศษ กว่าดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ การค้นพบครั้งนี้ทำให้เข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับ ต้นกำเนิดและวิวัฒนาการช่วงเเรกของระบบสุริยะได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ดาวเคราะห์น้อย 2006 VW139/288P ระบบวัตถุคู่มาเป็นระยะเวลาเพียง 5,000 ปีเท่านั้น การก่อตัวที่เป็นไปได้มากที่สุดของดาวเคราะห์น้อยคู่นี้เกิดจาก แตกตัวของดาวเคราะห์น้อยที่มีการหมุนอย่างรวดเร็วจนเสียสมดุล หลังจากนั้น วัตถุทั้งสองเขยิบตัวห่างออกจากกันด้วยเเรงผลักจากไอน้ำที่พ่นออกมา จากดาวเคราะห์น้อย ซึ่งไอน้ำดังกล่าวมาจากการระเหิดของน้ำแข็งบนตัวดาว

 

ที่มา: https://www.nasa.gov/feature/goddard/2017/hubble-discovers-that-a-unique-object-is-a-binary

นางสาวสาวิตรี เดชศรีมนตรี เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา