12 ตุลาคม 2560
วันที่ 12 ตุลาคม 2560 จะมีดาวเคราะห์น้อยโคจรเข้าใกล้โลกอีกหนึ่งดวง 2012TC4 คือชื่อของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้และจะเฉียดโลกไปในวันที่ 12 ตุลาคม 2560 เวลา 12.41น. ด้วยระยะห่างประมาณ 42,000 กิโลเมตร หรือเกือบหนึ่งในสิบของระยะทางจากโลกไปถึงดวงจันทร์ เมื่อเทียบระยะห่างตอนที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดของดาวเคราะห์น้อยด้วงนี้กับดวงอื่นๆ ก็สามารถใช้คำว่า “เฉียดโลก” ได้แต่ด้วยขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของมันแค่ 15-30 เมตร จึงถือว่าไม่มีความเสี่ยงใดๆที่จะพุ่งชนโลก
ดาวเคราะห์น้อย 2017TC4 ถูกค้นพบโดย กล้องโทรทรรศน์ PanSTARRS (Panoramic Survey Telescope and Rapid Response System)ในปี พ.ศ.2555 จากข้อมูลที่ได้ในครั้งนั้นสามารถคำนวณได้ว่ามันจะกลับมาเข้าใกล้โลกอีกครั้งในปีนี้ และความสว่างของมันอาจเพิ่มขึ้น และอาจจะสามารถบันทึกภาพได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดตั้งแต่แปดนิ้วขึ้นไปและได้รับความสนใจจากนักดาราศาสตร์ที่ศึกษาดาวเคราะห์น้อยทั่วโลกเนื่องจากการเข้าใกล้ครั้งนี้อาจได้รับอิทธิพลของแรงโม้มถ่วงจากโลกจนเปลี่ยนแปลงวงโคจรของมันซึ่งปกติใช้เวลา609 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ
นักดาราศาสตร์คาดหวังว่าข้อมูลที่ได้จาก 2012TC4 ตอนมันที่เข้าใกล้มากที่สุดจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของวัตถุท้องฟ้าประเภทนี้มากขึ้น เพราะการเฝ้าดูวัตถุที่เข้าใกล้โลกที่พบได้ลวงหน้าจะเป็นการทดสอบความแม่นยำของระบบติดตามเพื่อเฝ้าระวังและการเตือนภัย เพื่อป้องกันเกิดเหตุการณ์คล้ายกับ อุกกาบาตตกที่ เมือง Chelyabinsk ประเทศรัสเซีย ในวันี่ 15 กุพาพันธ์ 2556 เนื่องจากดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนที่เข้าหาโลกในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นจุดบอดในการสำรวจทำให้ไม่สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าซึ่งอาจลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ วัตถุเคลื่อนที่เร็วมากๆปลดปล่อยพลังงานมหาศาลเมื่อพุ่งชน ดาวเคราะห์น้อยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่กี่สิบเมตรที่ผ่านชั้นบรรยายกาศเข้ามาอาจสร้างแรงระเบิดเทียบกับระเบิดนิวเคลียร์ ดังนั้นการทราบตำแหน่งและทิศทางอย่างละเอียดของดาวเคราะห์น้อยที่มีแนวโน้วเข้าใกล้โลกจึงมีความสำคัญอย่างมาก
ภาพดาวเคราะห์น้อย 2017 TC4 ผ่านกล้องโทรทรรศน์
ภาพโดย Kiso Observatory, the University of Tokyo
เรียบเรียง
สิทธิพร เดือนตะคุ
ที่มา