NSO

นักดาราศาสตร์ค้นพบระบบดาวเคราะห์น้อยคู่ที่มีขนาดเท่ากัน ชื่อว่า 2017 YE5 เพิ่งโคจรผ่านโลกไปด้วยระยะห่างเพียง 6 ล้านกิโลเมตร (ประมาณ 16 เท่าของระยะห่างเฉลี่ยจากโลกถึงดวงจันทร์) โดยใช้เรดาร์ของ

การสร้างภาพเทคนิค Bi-static radar images ซึ่งได้จากหลายหอดูดาว เผยให้เห็นดาวเคราะห์น้อยสองดวงแยกออกจากกันอย่างชัดเจน

 

 

        หอดูดดาว Morocco Oukaimeden Sky Survey ในการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก 2017 YE5 ในวันที่ 21 ธันวาคม 2017  แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดทางกายภาพของมันจนกระทั่งมีการใช้เรดาร์ในการสังเกตการณ์ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน จึงทราบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (Near Earth Asteroid) แบบระบบดาวเคราะห์น้อยคู่ (Binary asteroid) ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ซึ่งค้นพบก่อนหน้านี้แค่สามดวงเท่านั้น  

ภาพถ่ายดาวเคราะห์น้อย 2017 YE5 ก่อนจะมีการใช้เรดาร์ในการศึกษา จุดตรงกลางคือภาพของดาวเคราะห์น้อย ส่วนเส้นที่อยู่รอบๆคือดาวฤกษ์พื้นหลัง ภาพลักษณะนี้เกิดจากกล้องโทรทรรศน์เคลื่อนที่ตามดาวเคราะห์น้อยซึ่งมีอัตราการเคลื่อนที่เชิงมุมต่างจากดาวฤกษ์บนท้องฟ้า ทำให้แสงจากดาวฤกษ์ลากเป็นเส้น ส่วนดาวเคราะห์น้อยเป็นจุดอยู่ ในทางตรงกันข้ามถ้ากล้องเคลื่อนที่เท่ากับความเร็วเชิมมุมของดาวฤกษ์ดาวเคราะห์น้อยจะปรากฏเป็นเส้นในภาพถ่ายแทน

ภาพถ่ายโดย Ayyad University Morocco Oukaimeden Sky Survey 

        ภาพจากสังเกตการณ์ด้วยนิคเรดาร์ทำให้เห็นว่าจุดแสงที่เห็นในภาพถ่ายนั้นแท้จริงแล้วเป็น เป็นดาวเคราะห์น้อยสองดวงโคจรรอบซึ่งกันและกัน ขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อย 2017 YE5 แต่ละดวงมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร โคจรรอบกันด้วยเวลาประมาณ 20 -24 ชั่วโมง ปกติแล้วดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่มักจะมีคู่ของมันอยู่ด้วย โดยร้อยละ 15 ของดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 200 เมตรจะมีคู่อยู่ด้วย แต่การที่คู่มีขนาดเท่ากันถือว่าเป็นกรณีที่พบได้ยากมาก

        ดาวเคราะห์น้อย 2017 YE5 เกือบจะกลายเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกธรรมดาที่พบเห็นได้บ่อย ๆ  แต่ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์น้อยคู่นี้โคจรเข้าใกล้โลกเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการสังเกตการณ์ด้วยเรดาร์ วันที่ 21 มิถุนายน หอดูดาว Goldstone Solar System Radar (GSSR) เริ่มพบว่าดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวมีลักษณะพิเศษซึ่งอาจเป็นวัตถุสองอันโคจรรอบกัน แต่เนื่องจากข้อมูลที่ได้ยังมีความละเอียดไม่เพียงพอทำให้ยังไม่สามารถยืนยันได้ จึงได้ส่งผลการสังเกตการณ์ไปยังกล้องโทรทรรศน์วิทยุ Arecibo  ประเทศปัวโตริโก้ ซึ่งกำลังวางแผนสังเกตการณ์ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้รวมกับกล้องโทรทรรศน์วิทยุ Green Bank ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว และในวันที่ 26 มิถุนายน กล้องโทรทรรศน์วิทยุทั้งสองได้ให้ข้อมูลตรงกันว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เป็นระบบดาวเคราะห์น้อยคู่

        ในขณะเดียวกันภาพจากเรดาร์ GSSR ให้ข้อมูลว่าวัตถุทั้งสองนั้นมีขนาดใหญ่กว่าที่ประมาณการณ์ไว้ อาจเป็นเพราะทั้งสองดวงสะท้อนแสงได้น้อยกว่าดาวเคราะห์น้อยหินทั่วๆไป ดาวเคราะห์น้อย 2017 YE5 นั้นดำเหมือนถ่าน นอกจากนี้พื้นผิวยังสะท้อนคลื่นวิทยุได้ต่างจากดาวเคราะห์น้อยแบบคู่อื่น ๆ ที่เคยเจอมาด้วย หมายความว่าอย่างน้อยดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อาจมีองค์ประกอบของพื้นผิว หรือความหนาแน่นที่ต่างจากเพื่อน ๆ ของมันที่พบก่อนหน้านี้ 

        โอกาสที่จะได้สังเกตการณ์ระบบดาวเคราะห์น้อยคู่ในระยะใกล้แบบนี้คงต้องรออีกเกือบสองศตวรรษ เพราะการเข้ามาใกล้โลกอีกครั้งของดาวเคราะห์น้อย 2017 YE5 ต้องรอถึง 170 ปี แต่นักดาราศาสตร์คงไม่ปล่อยเวลานี้สูญเปล่าแน่นอน การพัฒนาเทคนิคการสังเกตการณ์ด้วยเรดาร์และการเก็บข้อมูลในช่วงคลื่นแสงจะพัฒนามากขึ้นจนสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดกว่านี้ หรืออาจมีข้อมูลใหม่ ๆ ได้ และในช่วงที่รอการกลับมาของดาวเคราะห์น้อย 2017 YE5 อาจมีดาวเคราะห์น้อยแบบคู่ดวงอื่นที่รอคอยการค้นพบอยู่ ก็เป็นได้!!

ที่มา

https://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?feature=7187

https://www.space.com/41154-rare-binary-asteroid-discovery-near-earth.html

http://www.astronomy.com/news/2018/07/rare-equal-mass-binary-asteroid-discovered-near-earth

เรียบเรียงโดย

นายสิทธิพร  เดือนตะคุ