NSO

ฤดูกาล (Seasons)

ฤดูกาล (Seasons) เกิดจากการที่แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับแกนตั้งฉากระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ส่งผลให้พื้นที่ส่วนต่าง ๆ บนโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้แต่ละพื้นที่เกิดฤดูกาลต่างกันนั่นเอง โดยทั่วไปฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้

  • ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) หรือ วสันตฤดู : 21 มีนาคม - 20 มิถุนายน
  • ฤดูร้อน (Summer) หรือ คิมหันตฤดู : 21 มิถุนายน - 21 กันยายน
  • ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) หรือสารทฤดู : 22 กันยายน - 21 ธันวาคม
  • ฤดูหนาว (Winter) หรือ เหมันตฤดู : 22 ธันวาคม - 20 มีนาคม

แต่ในเขตร้อน จะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูหนาว (รวมกันเรียกว่า "ฤดูแล้ง") และฤดูฝน





การเกิด 4 ฤดูกาลและการโคจรของโลกในรอบ 1 ปี

แผนภาพการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ในวันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox)

 

ช่วงวันที่ 20 - 23 มีนาคมของทุกปี จะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน เรียกว่า “วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox)” ซีกโลกเหนือเป็นฤดูใบไม้ผลิ ซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง 

 

แผนภาพการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ในวันครีษมายัน (Summer Solstice)

          ช่วงวันที่ 20 - 23 มิถุนายนของทุกปี จะเป็นวันที่ขั้วโลกเหนือชี้เข้าหาดวงอาทิตย์ เรียกว่า “วันครีษมายัน (Summer Solstice)” กล่าวคือ เป็นวันที่ดวงอาทิตย์เฉียงไปทางเหนือมากที่สุด คือ 23.5 องศา ผู้ที่อยู่ซีกโลกเหนือจะอยู่ในช่วงฤดูร้อน และวันดังกล่าวเป็นวันที่มี “กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี” ในขณะที่ซีกโลกใต้จะอยู่ในช่วงฤดูหนาว และเป็นวันที่ “กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี”  

 แผนภาพการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ในวันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)

         ช่วงวันที่ 20 - 23 กันยายนของทุกปี จะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดีอีกครั้ง ส่งผลให้กลางวันลแะกลางคืนยาวนานเท่ากัน เรียกว่า “วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)” ซีกโลกเหนือเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูใบไม้ร่วง ซีกโลกใต้เปลี่ยนจากฤดูหนาวเป็นฤดูใบไม้ผลิ 

 

แผนภาพการขึ้น/ตกของดวงอาทิตย์ในวันเหมายัน (Winter Solstice)

         ช่วงวันที่ 20 - 23 ธันวาคมของทุกปี จะเป็นวันที่ขั้วโลกใต้ชี้เข้าหาดวงอาทิตย์ เรียกว่า “วันเหมายัน (Winter Solstice)” กล่าวคือ เป็นวันที่ดวงอาทิตย์เฉียงไปทางใต้มากที่สุด คือ -23.5 องศา ผู้ที่อยู่ซีกโลกเหนือจะอยู่ในช่วงฤดูหนาว และวันดังกล่าวเป็นวันที่มี “กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี” ในขณะที่ซีกโลกใต้จะอยู่ในช่วงฤดูร้อน และเป็นวันที่ “กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี” (ตรงข้ามกับ Summer Solstice)

 

 

         

เกร็ดความรู้ :

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่ได้ส่งผลต่อฤดูกาล 

         โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี จึงมีช่วงที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดคือต้นเดือนมกราคม (147.3 ล้านกิโลเมตร) ซึ่งซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว ในขณะที่ช่วงที่ไกลที่สุดคือต้นเดือนกรกฎาคม (152.1 ล้านกิโลเมตร) ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อน  เป็นเพราะว่าระยะใกล้ที่สุดและไกลที่สุดไม่แตกต่างกันมากนัก จึงไม่ส่งผลต่อการเกิดฤดูกาล

 

วีดีโอประกอบการนำเสนอ        https://www.youtube.com/watch?v=IYS8gpEtz_o&ab_channel=NARITThailand

 

Workshop : การจำลองการเกิดฤดูกาล

 

https://www.youtube.com/watch?v=JEzGfBBlcvU&ab_channel=NARITThailand

อุปกรณ์

  1. ลูกบอล (สำหรับจำลองรูปโลก) จำนวน 4 ลูก

  2. ที่เสียบกระดาษ จำนวน 4 อัน

  3. ไม้เสียบลูกชิ้น จำนวน 4 อัน

  4. หลอดไฟ (สำหรับจำลองดวงอาทิตย์) จำนวน 1 หลอด



Workshop : การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ใน 1 ปี

 

 

https://www.youtube.com/watch?v=JEzGfBBlcvU&ab_channel=NARITThailand

 

อุปกรณ์

  1. แผ่นโฟมขนาด 40x40 cm  หนา 1 นิ้ว จำนวน 1 แผ่น

  2. ลวดพลาสติก ความยาว 1 เมตร จำนวน 2 เส้น

  3. กระดาษแข็ง ขนาด A4 จำนวน 1 แผ่น

  4. ไม้ครึ่งวงกลม (สำหรับวัดมุม)

  5. กรรไกร

  6. ปากกาเมจิก