NSO

บทนำ

ไม่ว่าจะเป็นผู้เริ่มต้นใช้งานกล้องโทรทรรศน์ LT หรือจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้งานมาแล้ว แน่นอนว่าบางครั้งก็ต้องการคำแนะนำว่าวันนี้จะถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าไหนดี ดังนั้น Go Observing จึงถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานโดยมีการนำเสนอวัตถุท้องฟ้าที่สามารถทำการสังเกตการณ์ได้ในช่วงเวลานั้น ๆ ของปี ระบบจะเรียงลำดับรายชื่อวัตถุท้องฟ้าแต่ละประเภท (ดาวเคราะห์ กาแล็กซี และดาวฤกษ์ เป็นต้น) พร้อมกับกราฟสีแสดงความเหมาะสมในการสังเกตการณ์ โดยวัตถุที่มีโอกาสถ่ายภาพสำเร็จมากที่สุดจะอยู่ด้านบน และวัตถุที่มีโอกาสถ่ายภาพสำเร็จน้อยที่สุดจะอยู่ด้านล่าง.

ผู้ใช้งานสามารถใช้ตัวช่วยอื่นในการศึกษาท้องฟ้าในขณะนั้นได้จากเว็ปไซต์ NSO:

ผู้ใช้งานยังสามารถดูแผนที่ดาว และวางแผนว่าขณะนี้มีวัตถุท้องฟ้าใดอยู่บนท้องฟ้าอยู่บ้าง โดยสามารถเข้าใช้งานที่เว็ปไซต์ Heavens Above และ Sky View Caféรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถแสดงท้องฟ้าจำลองได้ เช่น Stellariumซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้งานได้ฟรีอีกด้วย.

ทำความเข้าใจกับกราฟสีที่แสดงความเหมาะสมในการสังเกตการณ์

 

Go Observing จะแสดงข้อมูลดังภาพ จะเห็นว่าทางซ้ายมือจะเป็นรายชื่อกาแล็กซีที่สามารถสังเกตการณ์ได้ในช่วงนั้น ๆ ของปี ส่วนทางด้านขวามือจะเป็นกราฟสีแสดงความเหมาะสมในการณ์สังเกตการณ์โดยเทียบกับวันที่ในเดือนนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วการสังเกตการณ์กาแล็กซีจะหลีกเลี่ยงวันที่มีดวงจันทร์อยู่ใกล้ ๆ เนื่องจากแสงจากดวงจันทร์รบกวนอย่างมาก ในขณะที่กาแล็กซีมีความสว่างน้อยมาก ดังนั้นการสังเกตการณ์กาแลกซีในวันที่มีดวงจันทร์อยู่ใกล้ ๆ  จะทำให้เสียเวลาในการใช้กล้องโดยใช่เหตุ เนื่องจากข้อมูลที่ถ่ายมาไม่สามารถนำมาใช้งานได้.

แต่สำหรับการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์จะพบว่ากราฟสีแสดงความเหมาะสมในการสังเกตการณ์จะต่างออกไปจากการสังเกตการณ์กาแล็กซีอย่างมาก เนื่องจากดาวเคราะห์มีความสว่างปรากฏค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับกาแล็กซีทำให้ไม่ถูกแสงจันทร์รบกวนในขณะสังเกตการณ์.

ยิ่งเลือกวัตถุท้องฟ้าที่มีความเหมาะสมในการณ์สังเกตการณ์มากเท่าไร ก็จะทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสได้รับข้อมูลได้เร็วขึ้นตามไปด้วย