NSO

Go Observing เป็นเมนูที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำให้้ผู้ใช้งานสามารถเลือกวัตถุท้องฟ้าที่ต้องการสังเกตการณ์ได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังคอยตรวจสอบและรายงานความคืบหน้าการเก็บข้อมูล รวมถึงสามารถดาวน์โหลดข้อมูลที่ถ่ายมาได้จากเมนูนี้เลย การที่จะทำให้ระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ทำงานได้อย่างราบรื่นนั้น ผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของกล้องโทรทรรศน์บางส่วนเพื่อที่จะช่วยให้กล้องโทรทรรศน์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา

หน้าที่หลักของเมนู Go Observing?

Go Observing จะช่วยให้ผู้ใช้งานได้ทำงานใกล้เคียงกับนักดาราศาสตร์มืออาชีพได้มากที่สุดเท่าที่จะเป้นไปได้ ต่างกันแค่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับรายละเอียดเทคนิคเชิงลึก

การสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ระดับงานวิจัยจำเป็นที่จะต้องเลือกอุปกรณ์เก็บข้อมูล ฟิลเตอร์ รวมถึงกำหนดระยะเวลาการเปิดหน้ากล้องให้เหมาะสมกับวัตถุท้องฟ้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเก็บข้อมูลนักดาราศาสตร์ค่อนข้างจะมีความซับซ้อนอยู่พอสมควร

Go Observing ถูกออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของเทคนิคดังกล่าวลง โดยทางระบบจะซ่อนรายละเอียดที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ออกไป คงเหลือไว้เพียงแค่รายละเอียดที่สำคัญและน่าสนใจเท่านั้น ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับระดับความซับซ้อนได้ตามกลุ่มผู้ใช้งานได้อีกด้วย

เป้าหมายของ Go Observing คือสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานว่าจะสามารถสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าที่เลือกได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องถ่ายผ่านฟิลเตอร์ผิดช่วงคลื่น หรือจะใช้ระยะเวลาในการเิดหน้ากล้องเหมาะสมหรือไม่

หลังจากที่ผู้ใช้งานสั่งงานผ่านเมนู Go Observing แล้ว คำสั่งดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนรูปให้อยู่ในรูปแบบที่กล้องโทรทรรศน์สามารถเข้าใจได้ พร้อมส่งคำสั่งไปยังกล้องโทรทรรศน์ หลังจากนั้นระบบจะคอยติดตามและรายงานผลว่าขณะนี้ได้ทำงานถึงขั้นตอนไหนแล้ว


สิ่งที่ต้องทำหลังจากที่ร้องขอคำสั่งการสังเกตการณ์ไปยังกล้องโทรทรรศน์?

รายการคำสังการสังเกตการณ์ หลังจากที่ร้องขอคำสั่งการสังเกตการณ์เรียนร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ ทำตัวสบาย ๆ แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกล้องโทรทรรศน์ที่จะทำการสังเกตการณ์แทนเรา แต่ถ้าหากต้องการจะตรวจสอบดูว่าขณะนี้ การสังเกตการณ์ของเราเป็นอย่างไรบ้าง สามารถเข้าไปดูได้ในเมนู "My Observations" ระบบจะแจ้งรายละเอียดสถานะคำสั่งการสังเกตการณ์ปัจจุบัน หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสังการสังเกตการณ์นั้น ๆ สามารถคลิ๊กที่ “Code” หมายเหตุผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถเห็นรายการคำสั่งการสังเกตการณ์ของตนเองเท่านั้น โดยรายการคำสั่งการสังเกตการณ์จะถูกเก็บไว้ในระบบเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น หากต้องการใช้ข้อมูลเก่าที่เกิน 1 ปี สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ “Archive.”


หลังจากที่ร้องขอคำสั่งการสังเกตการณ์แล้ว จะต้องใช้เวลานานเท่าไรถึงจะได้รับข้อมูลกลับมาจากกล้องโทรทรรศน์?

ระยะเวลาของแต่ละคำสั่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือปัจจัยที่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น ช่วงเวลาการขึ้นตกของวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ หรือตำแหน่งและเฟสของดวงจันทร์ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้จะถูกนำไปคำนวณแล้วแปลงผลออกมาเป็นกราฟสีแสดงความเหมาะสมในการสังเกตการณ์ ส่วนปัจจัยที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เช่น สภาพอากาศ ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากศูนย์รายงานสภาพอากาศบริเวณกล้องโทรทรรศน์ LT ได้

หากสภาพอากาศเอื้อต่อการสังเกตการณ์ วัตถุที่มีความเหมาะสมต่อการสังเกตการณ์มากกว่าจะมีโอกาสที่กล้องโทรทรรศน์ LT จะเก็บข้อมูลเสร็จสิ้นภายในคืนดังกล่าว หากคืนดังกล่าวกล้องโทรทรรศน์มีภารกิจที่ต้องสังเกตการณ์มาก วัตถุที่มีความเหมาะสมน้อยลงมาอาจจะต้องใช้เวลารอเพิ่มอีก 1-2 คืน

กล้องโทรทรรศน์ LT จะมีทางเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบการทำงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงคอยปรับปรุงระบบให้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นขอให้มั่นใจได้ว่าหลังจากที่ผู้ใช้งานร้องขอคำสั่งการสังเกตการณ์ไปแล้ว กล้องโทรทรรศน์จะให้ความสำคัญกับคำสั่งนั้นเท่าเทียมกับคำสั่งของนักดาราศาสตร์อาชีพ


สิ่งที่ต้องทำหลังจากกล้องโทรทรรศน์ LT เก็บข้อมูลตามที่ต้องการแล้ว?

หลังจากกล้องโทรทรรศน์ LT เก็บข้อมูลให้ผู้ใช้งานเรียนร้อยแล้ว ระบบจะแจ้งให้ทราบในเมนู "My Observations" ให้คลิ๊กหมายเลข Code เพื่ออ่านคำอธิบายเพิ่มเติมและดาวน์โหลดรูปภาพ

ผู้ใช้งานสามารถใช้ซอฟต์แวร์ LTImageในการแสดงผลภาพ ปรับความสว่าง และประมวลผลภาพ โดยซอฟต์นี้ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียน แต่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับซอฟต์แวร์ที่นักดาราศาสตร์อาชีพใช้งานกัน หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์นี้สามารถทดลองใช้งานจริง โดยมีคำอธิบายและกิจกรรมให้ทำในหน้า LTImage Workshopsได้

ภาพที่ดาวน์โหลดมานั้น มีข้อมูลต่าง ๆ อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ความชื้น ความเร็วลม อุณหภูมิขณะที่เก็บข้อมูล เป็นต้น ข้อมูลดังกล่าวอาจจะดูไม่ค่อยน่าสนใจ แต่ลองพิจารณาดูจะพบว่าข้อมูลดังกล่าวสามารถบอกได้ถึงความแต่ต่างระหว่าการถ่ายวัตถุเดิมสองครั้ง ในสภาพกาศาต่างกันได้ (เช่นวันดังกล่าวท้องฟ้าใสเคลียร์ หรือมีเมฆบาง ๆ อยู่ หรือแม้แต่ในคืนนั้นมีดวงจันทร์รบกวนหรือไม่และดวงจันทร์อยู่ห่างจากวัตถุที่ถ่ายภาพมามากน้อยแค่ไหน)

 


ระบบมีการสำรองข้อมูลการสังเกตการณ์หรือไม่?

ระบบจะทำการเก็บข้อมูลการสังเกตการณ์ทุกคำสั่งที่ผู้ใช้งานร้องขอไว้ใน Archiveในระยะเวลาสั้น ๆ (ประมาณ 3 เดือน) โดยระหว่างนั้นผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของคำสั่งจะสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้เท่านั้น ส่วนข้อมูลคำสั่งที่มีอายุเกิน 3 เดือนไปแล้ว จะสามารถถูกเข้าถึงโดยผู้ใช้งานอื่นได้

ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น เข้าถึงข้อมูลโดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน ประเภทของผู้ใช้งาน หรือชื่อวัตถุท้องฟ้าในการค้นหา เป็นต้น หากต้องการค้นหาแบบเจาะจงมากยิ่งขึ้น สามารถเลือกฟังก์ชัน Advanced ในการช่วยค้นหา โดยจะต้องกรอกรายละเอียดเพิ่มเติมลงไปเพื่อที่จะหาข้อมูลได้ตรงความต้องการมากยิ่งขึ้น สำหรับการสังเกตการณ์ในวันที่มีเมฆหรือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยก็มีโอกาสที่จะไม่พบข้อมูลในการค้นหาเลย


กล้องโทรทรรศน์ LT มีขีดจำกัดในการใช้งานหรือไม่?

ผู้ใช้งานสามารถใช้กล้องโทรทรรศน์ LT ได้โดยไม่มีขีดจำกัด เนื่องจากมีการบริหารเวลาการทำงานของกล้องโทรทรรศน์ดังนี้:

  1. ระบบ Go Observing ไม่มีขีดจำกัดตายตัวในแต่ละคืน เนื่องจากมีการร้องขอให้สังเกตการณ์แตกต่างกันไป ซึ่งหากคืนไหนมีการร้องขอให้ทำงานมากเกินไป ระบบจะทำการจำกัดจำนวนคำสั่งที่ร้องขอมาเองโดยอัตโนมัติ

  2. หากมีคำสั่งไหนที่ร้องขอให้เก็บข้อมูลเหมือนกัน มาในช่วงเวลาใกล้เคียงกันระบบจะทำการเก็บข้อมูลแค่ครั้งเดียว แล้วส่งข้อมูลที่ได้ไปยังผู้ใช้งานทุกคนที่ร้องขอมา แต่หากมีผู้ใช้งานใหม่ที่เพิ่งร้องขอคำสั่งสังเกตการณ์มาหลังจากที่กล้องโทรทรรศน์ LT ได้ทำการเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ระบบจะไม่ส่งข้อมูลที่เพิ่งเก็บมาได้ แต่จะทำการสั่งให้กล้องโทรทรรศน์ให้เก็บข้อมูลวัตถุนั้นอีกครั้ง

หลังจากที่กล้องโทรทรรศน์ LT เก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้งานโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากมีการร้องขอให้กล้องโทรทรรศน์เก็บข้อมูลเหมือนกันหลาย ๆ คำสั่ง ระบบจะรวมคำสั่งของผู้ใช้งานทุกคนให้เหลือเพียงคำสั่งเดียว


กล้องโทรทรรศน์ LT สามารถสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าได้ทุกชนิดหรือไม่?

กล้องโทรทรรศน์แต่ละชนิดย่อมมีข้อจำกัดในการสังเกตการณ์ และแน่นอนว่ากล้องโทรทรรศน์ LT ก็ไม่สามารถสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าได้ทุกชนิดเช่นกัน ดังนั้นเพื่อไม่ได้เกิดความผิดพลาดในการเลือกวัตถุท้องฟ้า ระบบได้คัดเลือกวัตถุที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ไว้ให้แล้ว.

ยกตัวอย่างเช่นมีผู้ใช้งานอยากเก็บข้อมูลกาแล็กซีแอนโดรเมดา แต่ขนาดปรากฏของกาแล็กซีแอนโดรเมดาใหญ่กว่ามุมรับภาพของกล้องโทรทรรศน์ LT เยอะมาก จึงไม่เหมาะแก่การสังเกตการณ์

ในฐานข้อมูลมีกาแล็กซีมากกว่า 20,000 กาแล็กซี แต่เราคัดเลือกมาแค่ 400 กาแล็กซีเท่านั้นที่เหมาะสมกับกล้องโทรทรรศน์ LT จากนั้นทางระบบ Go Observing จะคัดเลือกกาแล็กซีที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ ของปี ดังนั้นไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการเลือกวัตถุท้องฟ้าที่จะสังเกตการณ์

ดังนั้นเราจึงมั่นใจว่าผู้ใช้งานทุกท่านจะไม่ผิดหวังกับการใช้งานกล้องโทรทรรศน์ LT อย่างแน่นอน หากผู้ใช้งานท่านใดมีความประสงค์จะเก็บข้อมูลของวัตถุท้องฟ้าอื่นที่ไม่แสดงอยู่ในรายการของระบบ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ของหอดูดาวสำหรับโรงเรียนได้ เราจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ


ผู้ใช้งานเหมาะกับการใช้งาน Go Observing เหมือนกันทุกคนหรือไม่?

จุดเด่นของ Go Observing คือ สามารถปรับระดับความซับซ้อน ให้ตรงกับกลุ่มผู้ใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นประเภทของผู้ใช้งาน รวมไปถึงช่วงอายุของผู้ใช้งานอีกด้วย เนื่องจากผู้ใช้งานแต่ละคนมีความสนใจแตกต่างกันยกตัวอย่างเช่นเด็กนักเรียนช่วงชั้นประถมกับเด็กนักเรียนช่วงชั้นมัธยม

สำหรับผู้ใช้งานประเภทครู อาจารย์ สามารถเข้าถึงข้อมูลและการใช้งานได้มากกว่าประเภทนักเรียน ทำให้ครูผู้สอนสามารถนำกิจกรรมที่ได้รับจาก NSO ไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนโดยไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับตนเองและไม่ต้องกังวลว่านักเรียนจะทำกิจกรรมด้วยตนเองไม่ได้

ครูผู้สอนสามารถตั้งกลุ่มห้องเรียนและสามารถสร้างบัญชีรายชื่อให้กับนักเรียนในสังกัดได้จากเครื่องมืดการจัดการการลงทะเบียน ในเมนู “My Account”